ปวดหลัง-ปวดคอ จาก หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

4 มี.ค. 2563 | เขียนโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หมอนรองกระดูกสันหลัง คือ อะไร

กระดูกสันหลังของคนเราประกอบด้วยกระดูกจำนวน 24 ข้อ มีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อทำหน้าที่รองรับแรงกระแทก และยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนไหว เราเรียกว่า “หมอนรองกระดูกสันหลัง”
ลักษระของหมอนรองกระดูกสันหลัง มีรูปร่างเป็นวงกลมๆ มีขอบเป็นพังผืดที่เหนียวและแข็งแรง ประกอบด้วยเส้นใยที่ประสานกันเหมือนกับเส้นใยเหล็ก หรือผ้าใบ คล้ายยางรถยนต์ ส่วนภายในจะมีของเหลวคล้ายกับเจลลี่เป็นสารถ่ายรับน้ำหนัก เปรียบได้กับลมยางที่อยู่ในยางรถยนต์ เพื่อรับน้ำหนักบรรทุก โดยทำหน้าที่เป็นตัวรับและกระจายน้ำหนัก

 

หมอนรองกระดูกสันหลัง เสื่อมได้อย่างไร

การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เกิดจากจุดเริ่มต้นที่มีการบิด (Twisting) อย่างรุนแรงต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ไม่สามารถเป็นข้อต่อที่ดีของกระดูกสันหลัง จนเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจาก การใช้งานของข้อต่อในส่วนต่างๆ มากเกินไป เช่น บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจเกิดจากก้มๆ เงย ๆ ในการทำกิจกรรมต่างๆ กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวที่มีการบิดตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการด้ม หรือเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการปวดบริเวรหลัง สะโพก บางครั้งก็มีอาการปวดร้าวไปที่ก้น และต้นขา
อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดเอว จากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่ หรือบุคคลในวัยทำงานมากกว่าเด็ก โดยพบบ่อยในส่วนของกระดูกสันหลังบริเวณคอ (C5-6) หรือ กระดูกสันหลังบริเวณเอว (L4-5)

 

มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น

– น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
– ท่าทาง หรืออิริยาบทที่ผิดปกตินานๆ เช่น การก้มคอเขียนหนังสือนานๆ การนั่งกับพื้น หรือ การนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าบ่อยๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม และเกิดอาการปวดหลังได้
– การเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ฟุตบอลที่ต้องใช้ศีรษะโหม่งลูกบอลบ่อยๆ
– การขับรถยนต์ หรือขี่มอเตอร์ไซด์นานๆ

 

จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

ในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว หรือมีอาการปวดร้าว ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยการเอกซเรย์ดูกระดูกสันหลัง หรือเอกซเรย์คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยเครื่อง เอ็มอาร์ไอ (MRI) จะช่วยให้มองเห็นตำแหน่งของความผิดปกติและความรุนแรงของโรคได้อย่างชัดเจน

 

มีวิธีการรักษาอย่างไร

  • ในรายที่มีอาการปวดไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยา ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังไม่มาก หรือ การแอโรบิก ที่มีการกระแทกน้อย
  • ในรายที่มีอาการมากจนไม่สามารถทำงานได้ หรือ ได้รักษาด้วยการใช้ยา แล้วไม่ดีขึ้น

 

การผ่าตัดด้วยการใช้กล้องขยาย (Microscope)

เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยวิธีจุลศัลยกรรม หากเป็นกระดูกสันหลังบริเวณคอสามารถผ่าทางด้านหน้าของคอได้ โดยแพทย์จะใช้กล้องขยาย แพทย์จะเห็นรายละเอียดภายในและความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มาก อาการเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยลง ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวได้เร็ว ออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาถูกกว่า

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE