ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ควรตรวจส่องกล้อง หามะเร็งลำไส้ใหญ่

2 ก.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร ตับ และทางเดินน้ำดี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ควรตรวจส่องกล้อง หามะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งการขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายเป็นเลือดมีสิทธิ์เสี่ยงเป็นมะเร็งได้ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ใครมีสัญญาณเตือนควรรีบเข้ารับการตรวจเพื่อพ้นจากการถูกโรคภัยคุกคาม เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา



ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ควรตรวจส่องกล้อง หามะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งการขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายเป็นเลือดมีสิทธิ์เสี่ยงเป็นมะเร็งได้ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ใครมีสัญญาณเตือนควรรีบเข้ารับการตรวจเพื่อพ้นจากการถูกโรคภัยคุกคาม เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

พบมากเป็นอันดับสามของมะเร็งทุกชนิด และจัดเป็นสาเหตุการตายอันดับสอง โรคนี้หาตรวจค้นพบได้ตั้งแต่ในระยะแรก โอกาสรักษาหายสูงถึงประมาณ ร้อยละ 90

 

ใครบ้างที่ควรตรวจหาความผิดปกติในลำไส้

  1. กลุ่มที่มีอาการ คือ มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายบ่อย ถ่ายลำบาก ท้องเสียสลับท้องผูกมีลักษณะอุจจาระเป็นเม็ดเล็กๆ หลายเม็ด มีความารู้สึกเหมือนถ่ายไม่หมด ถ่ายเป็นเลือด เป็นมูกหรือมีมูกปนเลือด ปวดท้องเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด ซีด
  2. กลุ่มที่ไม่มีอาการ คือ อายุ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานและอ้วน

 

เทคโนโลยีตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่

ใช้การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า โคโลโนสโคป (Colono scope) แพทย์จะส่องกล้องเข้าไปดูลำไส้ใหญ่เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ แผล

การตรวจด้วยวิธีนี้จะเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อบริเวณลำไส้จะสามารถตัดชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคเพิ่มเติมโดยเฉพาะโรคมะเร็งได้อีกด้วย อีกทั้งยังใช้ในการห้ามเลือดที่บริเวณลำไส้ หรือ ใช้เพื่อการชี้บอกตำแหน่งให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่

ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือ มีประวัติคนในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ควรตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้ง และติดตามต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

 

คำแนะนำเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ไม่มีสารเคมีหรือยาอะไรที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ จึงไม่ควรเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อในเรื่อง
    อาหารเสริม หรือการทำดีทอกซ์ลำไส้ใหญ่ เพราะนอกจากเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน
    จากสารเคมี หรือเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการแตกของลำไส้ใหญ่จากการทำดีท็อกซ์ เพราะยังไม่มีข้อพิสูจน์ถึง
    ประโยชน์ที่ชัดเจนที่ได้รับจากการทำดีท็อกซ์
  2. แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  3. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
  4. ควรได้รับการตรวจส่องกล้องหามะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ มีคนในครอบครัว
    เป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะมะเร็งในอวัยวะใดๆ ก็ตาม และตามข้อแนะนำของสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป
    ควรได้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังต่อเนื่องมายาวนาน
  5. ผู้ที่มีประวัติครอบครัว มีเนื้องอกที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางประเภท ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรอง
    โรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ