ปวดท้องประจำเดือนมาก…เกิดจากอะไร ?

22 ก.พ. 2564 | เขียนโดย ศูนย์สุขภาพสตรี แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน



อาการปวดท้องประจำเดือน (Dysmenorrhea)

เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์ อาการปวดอาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป แต่ในผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ ต้องระวังว่าอาจมีความผิดปกติบางอย่างของมดลูกที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

 

ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากอะไร ?

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน และมีอาการปวดในช่วงประจำเดือนมาแล้ว 2-3 วันแรก โดยลักษณะเป็นอาการปวดบีบหรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ถ้ามีอาการมากอาจปวดร้าวไปหลัง หรืออาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ท้องเสีย ท้องอืด

 

ปวดท้องประจำเดือนผิดปกติมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง ?

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือ ช็อคโกแลตซีสท์
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri)
  • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis)
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ปากมดลูกตีบ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

อาการอย่างไรที่ควรไปพบแพทย์ ?

  • ปวดประจำเดือนมากรับประทานยาไม่ดีขึ้น หรือปวดมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน
  • อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • เลือดประจำเดือนมีสีคล้ำผิดปกติ
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง แม้ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์มาก
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ตกขาวผิดปกติ คันช่องคลอด ปัสสาวะขัด
  • มีปัญหามีบุตรยาก

 

ผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ โดยแพทย์จำทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมตามสาเหตุที่สงสัย เช่น

  • การตรวจอัลตราซาวน์อุ้งเชิงกราน
  • การตรวจย้อมสารคัดหลั่งจากปากมดลูกเพื่อดูการอักเสบติดเชื้อ
  • ไปจนถึงการส่องกล่องเข้าไปตรวจดูความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานในกรณีที่การตรวจเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติ โดยประโยชน์ของการส่องกล้อง คือสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางนรีเวชต่างๆ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ภาวะพังผืดในอุ้งเชิงกราน รวมถึงสามารถหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากได้อีกด้วย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกสูตินรีเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

รักษามีบุตรยาก Synphaet Fertility Center
แพ็กเกจฉีดเชื้อผสมเทียม IUI
ราคา
14,900 ฿
แพ็กเกจคุมกำเนิด
แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิด
ราคา
7,000 ฿
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี
โปรแกรมตรวจระบบสืบพันธุ์สตรี 1
ราคา
3,100 ฿