เมื่อประจำเดือน ไม่มาประจำเดือน

22 เม.ย. 2563 | เขียนโดย นพ.นภดล ใยบัวเทศ สูตินรีแพทย์ ชำนาญการด้านภาวะมีบุตรยาก

เมื่อประจำเดือน ไม่มาประจำเดือน จากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง อีกหนึ่งสาเหตุ มีบุตรยากประจำเดือนหรือรอบเดือนเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิงทุกคน แต่ก็พบมีผู้หญิงหลายคนไม่เคยสังเกตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรอบเดือนของตัวเองเลย แล้วนิ่งนอนใจไม่ค้นหาสาเหตุ จะเริ่มสังเกตอีกครั้งเมื่อถึงความพร้อมต้องการมีบุตรก็พบว่ามีบุตรยาก ไม่สามารถมีได้ในเวลาที่ต้องการไปแล้ว ต้องพึ่งพาวิธีการทางการแพทย์ในการช่วยแก้ไขในหลายๆ ขั้นตอน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น



เมื่อประจำเดือน ไม่มาประจำเดือน จากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง อีกหนึ่งสาเหตุ มีบุตรยากประจำเดือนหรือรอบเดือนเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิงทุกคน แต่ก็พบมีผู้หญิงหลายคนไม่เคยสังเกตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรอบเดือนของตัวเองเลย แล้วนิ่งนอนใจไม่ค้นหาสาเหตุ จะเริ่มสังเกตอีกครั้งเมื่อถึงความพร้อมต้องการมีบุตรก็พบว่ามีบุตรยาก ไม่สามารถมีได้ในเวลาที่ต้องการไปแล้ว ต้องพึ่งพาวิธีการทางการแพทย์ในการช่วยแก้ไขในหลายๆ ขั้นตอน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ประจำเดือน คือ เลือดที่ออกจากโพรงมดลูกเป็นรอบๆ ห่างกันทุก 28 วัน ผิดพลาดได้ไม่เกิน 7 วัน แต่ในบางคนอาจจะมีรอบเดือน 21 วัน 22 วัน  30 วัน หรือ 35 วัน ก็ได้  ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ในบางรายที่พบว่าประจำเดือนมาห่างเกินไป เราเรียกภาวะความผิดปกตินี้ว่า ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (Polycystic Ovarian Syndrome :PCOS) โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมาพบแพทย์เพื่อรักษา หรือหาสาเหตุ แต่จะมาพบแพทย์ด้วยปัญหามีบุตรยาก เมื่อแพทย์ซักประวัติก็จะพบว่า

  • มีรอบเดือนผิดปกติ
  • มีรอบเดือนห่างหาย
  • มีประจำเดือนกระปริบกระปรอย ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่นๆ ด้วย เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว
    อ้วน ท้องอืดง่าย มีลักษณะฮอร์โมนเพศชายเด่น เช่น ผิวหมัน เป็นสิวง่าย มีขนขึ้นบริเวณใบหน้า หรือบริเวณลำคอ มีหนวด เป็นต้น

สาเหตุของภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง เกิดจาก

  • การที่ระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของไข่
    ไม่สมบูรณ์ จึงไม่มีไข่ตก
  • เกิดการเลื่อนของรอบเดือนในกรณีนี้การรักษเบื้องต้น สามารถปฏิบัติได้เองง่ายๆ คือ การควบคุมน้ำหนักตัว หรือลดความอ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ เพื่อให้เกิดการตกไข่

แต่อย่างไรก็ตามก่อนใช้ยาใดๆ แพทย์จำเป็นต้องตรวจร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนก่อนเสมอ ในกรณีที่ใช้ยากระตุ้นไข่ นับวันไข่ตกเพื่อมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จในการมีบุตร แพทย์ อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยการทำ IUI (คือ การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก) การทำเด็กหลอดแก้ว หรืออิ๊กซี่ ร่วมกับการใช้เลเซอร์เพื่อเปิดเปลือกไข่ หรือตัวอ่อน(Laser Assisted Hatching) เพื่อช่วยในการปฏิสนธิหรือการฝังตัวของตัวอ่อน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะภาวะไม่ตกไข่เรื้อรังมักจะพบมีภาวะเปลือกไข่หนาตัวมากผิดปกติร่วมด้วย

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกสูตินรีเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

SHARE