ไอเรื้อรัง…เกิดจากอะไร

8 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจและปอด โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการไอเรื้อรัง (Chronic cough) คือ อาการไอที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไปในผู้ใหญ่ และเกิน 4 สัปดาห์ขึ้นไปในเด็ก



“ปัญหาอาการไอเรื้อรัง” ลองมาดูกันว่า เมื่อไรถึงจะเรียกว่าไอเรื้อรัง? อาการไอเรื้อรังเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง? และเมื่อไรที่ควรรีบไปพบแพทย์ ?

 

เมื่อไรถึงจะเรียกว่า “ไอเรื้อรัง”?

 

อาการไอเรื้อรัง (Chronic cough) คือ อาการไอที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไปในผู้ใหญ่ และเกิน 4 สัปดาห์ขึ้นไปในเด็ก

 

 

สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง

 

  • น้ำมูกไหลลงคอ ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • โรคหอบหืด
  • ภาวะทางเดินหายใจไวต่อการกระตุ้นหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • หลอดลมอักเสบ
  • โรคกรดไหลย้อน
  • การติดเชื้อในปอด เช่น วัณโรคปอด
  • โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพอง
  • การสูบบุหรี่
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • มะเร็งปอด

 

 

เมื่อไรที่ควรรีบไปพบแพทย์ ?

 

หากมีอาการไอร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง

  • ไอมีเสมหะปนเลือด
  • มีไข้เรื้อรัง
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • เหนื่อยง่าย เหนื่อยแม้ในขณะอยู่เฉยๆ
  • เจ็บหน้าอก
  • มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค
  • มีประวัติปอดอักเสบบ่อยๆ
  • มีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ