โรค IBS (ไอ. บี. เอส) หรือ โรคลำไส้แปรปรวน คือ กลุ่มโรคที่ประกอบด้วย อาการปวดท้อง อึดอัด ไม่สบายท้อง ร่วมกับการที่มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น บางรายอาจมีภาวะท้องผูก หรือ ท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้จะตรวจไม่พบความผิดปกติ ทางพยาธิสภาพในช่องท้อง แต่จะมีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง
โรค IBS (ไอ. บี. เอส) หรือ โรคลำไส้แปรปรวน คือ กลุ่มโรคที่ประกอบด้วยอาการปวดท้อง อึดอัด ไม่สบายท้อง ร่วมกับการที่มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น บางรายอาจมีภาวะท้องผูก หรือท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้จะตรวจไม่พบความผิดปกติ ทางพยาธิสภาพในช่องท้อง แต่จะมีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง
ปัจจุบัน โรค IBS นี้พบบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตรา 4:1 อายุที่เริ่มต้นเป็นโดยเฉลี่ย ประมาณ 20-29 ปี โดยพบมากในช่วงอายุ 40-60 ปี
โรค IBS เกิดได้อย่างไร?
สาเหตุของโรคนี้เชื่อว่าเกิดจากมีความผิดปกติของการบีบตัวของลำไส้ ร่วมกับระบบการรับความรู้สึกเจ็บปวดของไส้มีความไวมากกว่าปกติ โดยมีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่ ความเครียด หรือ อาหารบางชนิด ทำให้มีอาการปวดท้อง
โรค IBS แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- ชนิดท้องผูกเป็นอาการเด่น : เกิดจากลำไส้มีการบีบตัวช้ากว่าปกติ
- ชนิดท้องเสียเป็นอาการเด่น : เกิดจากลำไส้มีการบีบตัวเร็วมากกว่าปกติ
อาการของโรค IBS
เป็นโรคเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ อาการจะประกอบด้วย ปวดท้องร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายอุจจาระ อาการปวดท้องมักจะดีขึ้นเมื่อมีการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสียก็ได้ บางรายอาจมีอาการของโรคกระเพาะร่วมด้วย เช่น จุกแน่นลิ้นปี่ เรอบ่อย และบางรายมีอาการผิดปกติ ทางจิตใจได้ เชน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า เครียด
เมื่อไร ควรสงสัยว่าเป็นโรค IBS?
เมื่อผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังดังกล่าว ควรสงสัยว่าเป็นโรค IBS แต่ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ โรคนี้เป็นโรคที่ไม่มีพยาธิสภาพในทางเดินอาหาร และจะไม่กลายเป็นมะเร็งในอนาคต จึงไม่มีอันตราย แต่การวินิจฉัยโรคนี้จำเป็นต้องแยกโรคจากกลุ่มโรคอื่น ๆ ที่อันตราย ซึ่งอาจมีอาการแสดงคล้ายกันได้ ได้แก่ โรคมะเร็งลำไส้ โรคกระเพาะอาหารโรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น
ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป เพราะจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคมะเร็งลำไส้ก่อนจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค IBS
คำแนะนำและข้อควรปฎิบัติ สำหรับผู้ที่เป็นโรค IBS
- รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นอาการ ได้แก่ อาหารมัน กาแฟ น้ำอัดลม และอาหารรสจัดทุกประเภท
- ดื่มน้ำมาก ๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงภาวะเครียด และควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- พบแพทย์และตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลสินแพทย์
พร้อมให้การตรวจวินิจฉัยอาการปวดท้อง ด้วยเทคโนโลยีหลากหลายประเภท ปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศ ทุกวัย มีแนวโน้มพบได้มากขึ้น อาการปวดท้องมีหลายรูปแบบ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าอาการปวดท้องเป็นโรคธรรมดา ใคร ๆ ก็เป็นกันทั้งนั้น อาจจะเป็นกระเพาะอาหาร ลองซื้อยาธาตุ ยาลดกรดมารับประทาน เดี๋ยวอาการก็ดีขึ้น
แต่ความจริงแล้วปวดท้องเป็นอาการหนึ่งที่พบว่าเป็นการนำโรคต่าง ๆ ได้มากมาย การค้นหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุจะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนและ โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)
โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี