โรคพาร์กินสัน กับผู้สูงอายุ

15 ก.พ. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เมื่อเข้าสู่วัยชราเป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ  โรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่จะส่งผลให้เกิด อาการสั่น เกร็ง บิด และเคลื่อนไหวได้ช้า



เมื่อเข้าสู่วัยชราเป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ  โรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่จะส่งผลให้เกิด อาการสั่น เกร็ง บิด และเคลื่อนไหวได้ช้า

 

สาเหตุการเกิดโรคพาร์กินสัน

1. ความชราของสมอง มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน เป็นกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง มีทำหน้าที่ในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหมีจำนวนลดลง พบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน และงเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด
2. ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กด หรือต้านการสร้างสารโดปามีน ส่วนมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้ เพื่อป้องกันอาการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท ในปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่มีความปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน
3. ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันต่อไป
4. หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนน้อย หรือหมดไป
5. สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ สารแมงกานีส ในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์
6. สมองขาดออกซิเจน จากการจมน้ำ โดนบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจ เป็นต้น
7. ศีรษะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ หรือ โรคเมาหมัดในนักมวย
8. การอักเสบของสมอง
9. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
10. ยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด

 

อาการของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ

อาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรคและภาวะแทรกซ้อน แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด คือ

1. อาการสั่น

โดยมากพบอาการสั่นที่มือและเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ เป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณ ร้อยละ 60 – 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่งๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4 – 8 ครั้ง / วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะอาการสั่นลดลง หรือหายไป

2. อาการเกร็ง

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนัก

3. เคลื่อนไหวช้า

ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง งุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น

4. ท่าเดินผิดปกติ

ผู้ป่วยจะมีท่าเดินที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้นๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรกๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์

5. การแสดงสีหน้า

ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมย ไม่มีอารมณ์ เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อย

6. เสียงพูด

จะพูดเสียงเครือๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนานๆ ไป เสียงก็จะค่อยๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนัก เมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมา และมาอออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา

7. การเขียน

เขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อยๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก มีปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุกโดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และ อ่อนเพลีย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรมระบบประสาทและสมอง

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

SHARE