โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ Peptic Ulcer

14 ม.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร ตับ และทางเดินน้ำดี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการของโรคแผลกระเพาะอาหารและลำไส้ จะมีอาการปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน อาการปวดอาจจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด อิ่มแล้วปวด บางรายมีการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อยๆ หรือ อาจมาโรงพยาบาล ด้วยอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำอาเจียนเป็นเลือด กระเพาะอาหารทะลุ



ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคแผลเป็บติค หรือ โรคกระเพาะอาหารในความหมายของประชาชนทั่วไปนั้นจริงๆ แล้วในทางการแพทย์ หมายถึง โรคที่เกิดแผลขึ้นที่บริเวณกระเพาะอาหาร รวมถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

 

ดังนั้น เราจึงแบ่งโรคแผลเป็บติคออกเป็น 2 ชนิด ตามตแหน่งที่เกิดแผล คือ

  1. แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer)
  2. แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer)

 

โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อย และกรดเข้มขนที่ใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ผนังเยื่อบุของกระเพาะและลำไส้ จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรด และ น้ำย่อยได้ จึงไม่เกิดแผลในภาวะปกติ แต่มีบางภาวะที่ทำให้สมดุลนี้เสียไป ซึ่งเชื่อว่า อาจเกิดจากการหลั่งกรดที่มากกว่าปกติ หรือ ผนังเยื่อบุอ่อนแอกว่าปกติ จึงทำให้เกิดแผลขึ้นโดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผล ได้แก่

  • การติดเชื้อ เอช ไพโลไร (H.pylori)
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดข้อ และกระดูก ยาแอสไพริน
  • ความเครียด
  • ดื่มสุราและสูบบุหรี่

 

เชื้อ เอช ไพโลไร H.pylori คือ อะไร

H.pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณผนังเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในประชากรไทยมีโอกาสพบเชื้อนี้ได้ถึง 60-70% เชื้อนี้จะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดในปริมาณที่สูงกว่าปกติ และ เชื้อจำทำลายผนังเยื่อบุจนทำให้เกิดแผล

นอกจากนี้ เชื้อ H.pylori ยังเป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย เชื้อ นี้จะทำให้แผลกระเพาะอาหารไม่หายขาดและ มีอัตราการเกิดแผลซ้ำได้มากกว่า 90%

 

อาการของโรคแผลกระเพาะอาหารและลำไส้

จะมีอาการปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน อาการปวดอาจจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด อิ่มแล้วปวด บางรายมีการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อยๆ หรือ อาจมาโรงพยาบาล ด้วยอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำอาเจียนเป็นเลือด กระเพาะอาหารทะลุ

 

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

หากมีการตรวจพบเชื้อ H.pylori จะต้องทำการรักษาและกำจัดเชื้อนี้ หากไม่ได้กำจัดก็จะทำให้ไม่สามารถรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ให้หายขาดได้

ควรรับประทานยารักษาแผลเป็บติคตามคำแนะนำของแพทย์ และอย่าหยุดยาเอง แม้ว่าอาการปวดท้องจะดีขึ้นแล้ว เพราะอาการปวดท้องมักดีขึ้นก่อนการหายของแผล

 

การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น มีประโยชน์อย่างไร

โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้ารักษาอย่างถูกวิธี การตรวจโดยการส่องกล้อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ เพราะการส่องกล้องจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่ามีแผลจริงหรือไม่ ซึ่งแต่เดิมมักตรวจด้วยการกลืนแป้งแล้วเอ็กซเรยค์ ซึ่งวิธีนี้มักไม่สามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลในกระเพาะอาหารที่ตรวจพบได้ เท่ากับผลที่ได้จากการตรวจส่องกล้องแล้วถ้าแผลจริงขนาดและตำแหน่งของแผล จะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาในการรับประทานยาลดกรด อีกทั้งการตรวจด้วยวิธ๊นี้ยังสามารถตรวจหา เชื้อ H.pylori โดยการคีบชิ้นเนื้อเล็กๆ ขนาด 2-3 มิลลิเมตร มาตรวจหาเชื้อหรือตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยาได้ ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ สามารถตรวจทดสอบการติดเชื้อ เอช.ไพโลไร แบบไม่ส่องกล้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจาก สมาคมแพทย์ ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ด้วยวิธีการ วัดหาระดับยูเรีย จากลมหายใจ (Urea Breath Test ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับการตรวจที่มีเพียงไม่กี่แห่ง ในประเทศไทย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ  (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

SHARE