แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คือ การที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับความลึกและความกว้างของแผล ระดับที่หนึ่ง เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังด้านนอก ระดับที่สอง เป็นการไหม้ถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบางส่วน ระดับที่สาม เป็นการไหม้ลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คือ การที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับความลึกและความกว้างของแผล
- ระดับที่หนึ่ง เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังด้านนอก
- ระดับที่สอง เป็นการไหม้ถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบางส่วน
- ระดับที่สาม เป็นการไหม้ลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด
สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลได้แก่
- แสงแดด
- ความร้อน
- สารเคมี
- ไฟฟ้า
- รังสี
อาการของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- เจ็บปวด
- ผิวหนังแดง แห้ง ยังไม่มีตุ่มพุพอง สำหรับการไหม้ระดับที่หนึ่ง
- ผิวหนังเปียกชื้น แดง กดแล้วซีด มีตุ่มพุพองทันทีหรือเกิดตามภายหลัง สำหรับการไหม้ระดับที่สอง
- มีตุ่มพุพองทันที ผิวหนังเปียกชื้น ซีด สำหรับการไหม้มากในระดับที่สอง
- ผิวหนังไหม้เกรียม หดตึง ไม่มีความรู้สึก สำหรับการไหม้ในระดับที่สาม
การรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- ในที่เกิดเหตุ อย่าใช้ยาสีฟัน น้ำแข็ง หรือน้ำปลาทาแผล แต่ควรทำให้ผิวหนังบริเวณที่ไหม้เย็นลงโดยการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือใช้แผ่นความเย็นประคบไว้ ไม่ควรเจาะตุ่มพุพอง
- ที่โรงพยาบาล ทำความสะอาดแผลไหม้ด้วยน้ำเกลือ แล้วทาแผลด้วยครีม silver sulfadiazine หลังจากนั้นอีก 24-48 ชั่วโมงให้เปลี่ยนผ้าพันแผล ควรให้ยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง ให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อจำเป็น
อาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแบบไหนที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- แผลไหม้บริเวณกว้าง
- ผู้ป่วยเด็ก (อายุน้อยกว่า 5 ปี) หรือผู้ป่วยสูงอายุ (อายุมากกว่า 55 ปี)
- อุบัติเหตุไฟฟ้าแรงสูง
- มีแผลไหม้ระดับสามเป็นวงรอบอวัยวะ เช่น รอบนิ้ว รอบแขนขา รอบลำตัว
- มีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เบาหวานหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
การป้องกันไม่ให้เกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
- ระมัดระวังและไม่ประมาทขณะใช้ของร้อนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลกรรม ได้ที่โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ