การฉีกขาดของเอ็นนี้มักไม่ได้เกิดจากการประทะกันโดยตรง แต่เกิดจากการที่เราลดความเร็วของการวิ่งอย่างกระทันหันเพื่อที่จะเปลี่ยนทิศทางไปทางตรงกันข้าม หรือหลังกระโดดขณะเท้าลงสัมผัสพื้นแล้วเรารีบเปลี่ยนทิศทางกระทันหัน ในขณะนั้นจะเกิดแรงขึ้นอย่างมหาศาลในข้อเข่า ถ้าหากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรงเพียงพอ แรงทั้งหมดก็จะถูกส่งผ่านไปที่กระดูก และเส็นเอ็นยึดข้อเข่า ทำให้เอ็นขาดได้ในทันที
ปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อสุขภาพกันมาก คนหนุ่มสาวยุคนี้จึงนิยมการเล่นกีฬาต่างๆกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจเกิดขึ้นได้หากไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ วันนี้เรามาทำความรู้จักการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดข้อเข่ากันก่อน
การฉีกขาดหรือการบาดเจ็บของเอ็นเกิดขึ้นได้อย่างไร
การฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าเป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในกีฬาประเภทที่ต้องมีการกระโดดสูงๆ การวิ่งซิกแซก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนทิศทางการวิ่งอย่างกระทันหัน เช่นในกีฬาฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น
การฉีกขาดของเอ็นนี้มักไม่ได้เกิดจากการประทะกันโดยตรง แต่เกิดจากการที่เราลดความเร็วของการวิ่งอย่างกระทันหันเพื่อที่จะเปลี่ยนทิศทางไปทางตรงกันข้าม หรือหลังกระโดดขณะเท้าลงสัมผัสพื้นแล้วเรารีบเปลี่ยนทิศทางกระทันหัน ในขณะนั้นจะเกิดแรงขึ้นอย่างมหาศาลในข้อเข่า ถ้าหากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรงเพียงพอ แรงทั้งหมดก็จะถูกส่งผ่านไปที่กระดูก และเส็นเอ็นยึดข้อเข่า ทำให้เอ็นขาดได้ในทันที
รู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะเอ็นเข่าขาด
- ได้ยินเสียงดังลั่นในเข่าขณะที่เกิดการบาดเจ็บ
- ไม่สามารถเล่นกีฬานั้นๆต่อได้ เนื่องจากปวดเข่ามาก
- เข่าบวม ตึง ภายหลังการบาดเจ็บภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และจะบวมมากขึ้นภายใน 24 ชั่งโมง จนรู้สึกงอเข่าลำบาก เนื่องจากมีเลือดออกในข้อเข่า
- เดินกะเผลก รู้สึกเหมือนขาไม่มีแรง เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาทำงานได้ลดลงเพราะเข่าบวมมาก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้า
1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา
- ทักษะของการเล่นกีฬาชนิดนั้นๆ เช่น ผู้เล่นหัดใหม่จะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากกว่าผู้เล่นที่มีประสบการณ์
- รองเท้า และพื้นหรือสภาพสนาม มีความเหมาะสมหรือไม่ เช่น ลื่นเกินไป เป็นหลุมเป็นบ่อขรุขระหรือไม่
- ระดับของการเล่นกีฬา เช่น เล่นเพื่อสันทนาการมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเล่นแบบทุ่มเท จริงจัง หรือการเล่นระดับการแข่งขันอาชีพ
2.ปัจจัยภายใน ได้แก่
- แนวกระดูกของขาทั้งสองข้าง เช่น คนขาฉิ่ง(เข่าชิดกัน) มีความเสี่ยงมากกว่าคนขาโก่ง(เข่าแยกกัน) หรือ นักกีฬาผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่านักกีฬาผู้ชาย เนื่องจากสรีระของผู้หญิงมีสะโพกที่ผายมากกว่า ทำให้แนวกระดูกเข่าชิดกันมากกว่าผู้ชาย
ดังนั้นก่อนการเล่นกีฬาที่อาจมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเอ็นยึดข้อเข่า เราควรสำรวจตัวเองก่อนว่ามีความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกมากน้อยแค่ไหน และหากพบว่ามีความเสี่ยง แต่ยังอยากเล่นกีฬาชนิดนั้นๆอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (sports medicine) เพื่อกำจัดจุดเสี่ยงเหล่านั้น เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ และเพื่อที่เราจะได้เล่นกีฬาที่เรารักได้อย่างไร้การบาดเจ็บไปนานๆ
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)