
เทคโนโลยี่การผ่าตัดโดยการส่องกล้องซึ่งแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก สามารถตรวจพบความผิดปกติภายในข้อได้ชัดและสามารถใช้เครื่องมือพิเศษที่ออกแบบมาเฉพาะในการผ่าตัดผ่านกล้องมาใช้ทำให้ผลของการรักษาได้ผลดีขึ้นมากนอกจากนี้หลังการผ่าตัดการเจ็บแผลไม่มากทำให้ข้อไหล่ฟื้นตัวได้เร็วทำกายภาพได้ดี
ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีความสำคัญในการใช้งานในชีวิตประจำวัน หากข้อไหล่เกิดการติดขัดขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้เมื่อเกิดการติดขึ้นแล้วโดยมากผู้ป่วยมักจะมีการปวดข้อไหล่ร่วมด้วย ซึ่งอาจปวดจนรบกวนการนอนทำให้ไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อรอบไหล่เกิดการยึดเกร็งร่วมด้วย ทำให้ผลของการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากอาการข้อไหล่ติด มักเป็นผลที่เกิดตามมาของโรคหรือการบาดเจ็บต่างๆ ในข้อไหล่ ในปัจจุบันการรักษาโดยการส่องกล้องมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาการติดของข้อไหล่ เนื่องจากเป็นการรักษาโดยตรงและมีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย
ผู้ป่วยที่มีข้อไหล่ติด 5 ประเภท ดังนี้
- ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
- เกิดร่วมกับโรคเบาหวาน (diabetic stiff shoulder)
- เกิดหลังจากมีอุบัติเหตุบริเวณข้อไหล่ทั้งทางตรงและทางอ้อม (post traumatic)
- เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดบริเวณข้อไหล่ (postoperative stiffness)
- เกิดภายหลังการติดเชื้อในข้อไหล่ ( septic arthritis)
ลักษณะการดำเนินโรค
มักพบการเกิดข้อไหล่ติดในผู้ป่วยอายุ 40 – 50 ปีขึ้นไป โดยมีอาการปวดและขยับข้อไหล่ไม่ได้เป็นอาการนำมาพบแพทย์ ธรรมชาติของโรคพบว่ากลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุจะพบได้บ่อยที่สุดและสามารถค่อยๆ หายได้โดยใช้เวลา 1-2 ปี มักเกิดจากการที่ข้อไหล่มีการอักเสบร่วมกับการที่ข้อไม่ได้ขยับ เมื่อปล่อยทิ้งไว้เยื่อหุ้มข้อจะหนาและรัด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวลำบาก
หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการปวดจะดีขึ้น แต่มักพบว่าเมื่อหายจะขยับข้อไหล่ได้ไม่ดีเท่าปกติ และกลุ่มที่เกิดร่วมกับเบาหวานจะมีอาการมากที่สุดและรักษาได้ผลดีไม่เท่าในกลุ่มแรก ส่วนพวกที่เกิดหลังอุบัติเหตุหรือเป็นภายหลังผ่าตัดมักได้ผลดีกว่าเนื่องจากทราบสาเหตุที่ทำให้มีข้อติด เช่น มีการฉีกขาดของเอ็นในข้อไหล่ (biceps tendon tears) หรือเอ็นกลางข้อไหล่บาดเจ็บ (rotator cuff tears) ส่วนพวกที่เกิดภายหลังการติดเชื้อพบได้ค่อนข้างน้อยและมักลงเอยด้วยข้อเสื่อมในที่สุด
การรักษา
- การรักษาแบบอนุรักษ์นิยม conservative treatment เนื่องจากมีผู้ป่วยกลุ่มหนี่งพบว่าอาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 1-2 ปี การรักษาเบื้องต้นจะเป็นการรักษาแบบดั้งเดิมโดยการใช้ยาลดอักเสบยาแก้ปวด การฉีดยาลดอักเสบและการทำกายภาพบำบัดซึ่งใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนานโดยจะได้ผลในกลุ่มไม่ทราบสาเหตุ
- การรักษาโดยการผ่าตัด operative treatment พิจรณารักษาในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีดั้งเดิมหรือระหว่างรักษาอาการเป็นมากขึ้นหรือทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดเช่นมีเอ็นกางข้อไหล่ฉีกขาด ซึ้งแต่เดิมทำได้โดย
- การรักษาโดยการดึงจัดกระดูกหรือดัดข้อร่วมกับการดมยาสลบ การผ่าตัดเพื่อตัดผังผืดหรือกรอกระดูกไหล่ที่ขบเอ็นออก เนื่องจากพบโรคแทรกซ้อนของการรักษาดังกล่าวเช่นกระดูกไหล่หัก เอ็นภายในข้อฉีกขาด เกิดข้อไหล่ติดซ้ำและผลการรักษาระยะยาวไม่ดีเท่าที่ควรในปัจจุบันจะเห็นการรักษาแบบนี้น้อยลงมาก
- ด้วยข้อดีของเทคโนโลยี่การผ่าตัดโดยการส่องกล้องซึ่งแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก สามารถตรวจพบความผิดปกติภายในข้อได้ชัดและสามารถใช้เครื่องมือพิเศษที่ออกแบบมาเฉพาะในการผ่าตัดผ่านกล้องมาใช้ทำให้ผลของการรักษาได้ผลดีขึ้นมากนอกจากนี้หลังการผ่าตัดการเจ็บแผลไม่มากทำให้ข้อไหล่ฟื้นตัวได้เร็วทำกายภาพได้ดี
- ในช่วงระยะเวลา 10-15 ปีที่ผ่านมามีการรายงานจำนวนมากถึงผลดีของการรักษาโดยการส่องกล้องกับผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไหล่ติดและไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอนุรักษ์นิยมซึ่งการรักษาจะใช้กล้องส่องเข้าไปในข้อไหล่และรักษาการบาดเจ็บทุกชนิดในข้อจากนั้นจึงทำการตัดผังผืดที่รัดข้อออกจากด้านในจนข้อสามารถขยับได้ จากนั้นจึงใช้กล้องส่องไปตรวจดูข้อต่อรอบๆ ข้อไหล่ ซึ่งอยู่ด้านบนและด้านข้างหากมีการอักเสบหรือติดยึดก็ผ่าตัดแก้ไขร่วมด้วย นอกจากนี้การที่มีกระดูกงอกของไหล่ซึ่งไปขบกับเอ็นก็สามารถกรอกระดูกออกโดยวิธีนี้ได้ โดยรวมผลของการรักษาได้ผลดีในแง่การเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวและลดอาการปวดได้ดีทำให้ลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องทนกับความเจ็บปวดและใช้ข้อไหล่ไม่ถนัดลงและยังรักษาสาเหตุอื่นๆในข้อไหล่ไปในคราวเดียวโดยรวมผลของการรักษาซึ่งมีรายงานพบว่าได้ผลดีถึง 75%-90%
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคปวดข้อ , ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องข้อ, ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)