เทคโนโลยีตรวจ… โรคมะเร็งท่อน้ำดี

2 ก.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดมะเร็งบริเวณท่อน้ำดี ซึงเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เล็ก โรคพบได้น้อยในคนตะวันตก แต่สำหรับในประเทศไทย พบอุบัติการณ์สูงที่สุดในโลก มะเร็งท่อน้ำดี ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา



โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)

เป็นโรคมะเร็งที่เกิดมะเร็งบริเวณท่อน้ำดี ซึงเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เล็ก โรคพบได้น้อยในคนตะวันตก แต่สำหรับในประเทศไทย พบอุบัติการณ์สูงที่สุดในโลก

 

 ลักษณะอาการเด่นๆ ของโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ

  • ปวดท้อง โดยเฉพาะที่ชายโครงด้านขวา และอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่หรือหลัง
  • มีภาวะตัวเหลือง-ตาเหลือง หรือ ที่เรียกว่า ดีซ่าน
  • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
  • ตรวจเลือดพบระดับค่าเอนไซม์การทำงานของตับผิดปกติ
  • ตรวจร่างกายโดยการคลำ พบมีตับโต
  • มักมีอาการคันตามร่างกาย และอุจจาระมีสีซีด

 

โรคมะเร็งทุกชนิดหากตรวจพบเจอได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถรักษาได้ และได้ผลดี แต่หากพบในระยะท้าย หรือระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อหรือเนื้อมะเร็งออกได้หมดแล้ว อาจต้องใช้การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด

 

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี

จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือตรวจที่มีประสิ่ทธิภาพ และโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย

  • ตรวจอวัยวะภายในหรือตับด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scan)
  • ตรวจด้วยการส่องกล้องและฉีดสีดูภาพท่อน้ำดีและตับอ่อน (ERCP:Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) การตรวจด้วยวิธีนี้ นอกจากจะเห็นลักษณะของท่อน้ำดีแล้ว ยังสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อ่ที่พบว่าผิดปกติมาตรวจเพิ่มเติมได้ว่าใช่เซลล์มะเร็งหรือไม่ หรือใส่ท่อ Stent เพื่อขยายท่อน้ำดีที่ตีบแคบได้
  • ตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดูท่อน้ำดีและตับอ่อน  (MRCP:Magnetic Resonance Cholangiopancreatography)การตรวจด้วยวิธีนี้ มีข้อดี คือ จะช่วยให้เห็นขอบเขตหรือขนาดของเนื้องอกได้อย่างชัดเจน และการตรวจแบบนี้ผู้ถูกตรวจไม่ต้องเจ็บตัวจากการถูกใส่สายใดๆเข้าไปในร่างกาย

 

วิธีการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

คือ รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ป้องกันตนเองไม่ให้ติดพยาธิใบไม้ในตับ โดยการไม่รับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด เพื่อตรวจติดตามการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่อง

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกศัลยกรรม ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE