โรคที่สาเหตุหนึ่งของภาวะเลือดออกในสมอง คือการที่มีหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral aneurysm) ภาวะนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูมากนัก แต่ถือเป็นภาวะที่อันตราย หากเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือหลอดเลือดสมองแตก มีเลือดออกในสมอง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตฉับพลันหรือทุพลภาพถาวรตามมา
โรคที่สาเหตุหนึ่งของภาวะเลือดออกในสมอง คือการที่มีหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral aneurysm) ภาวะนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูมากนัก แต่ถือเป็นภาวะที่อันตราย หากเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือหลอดเลือดสมองแตก มีเลือดออกในสมอง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตฉับพลันหรือทุพลภาพถาวรตามมา
หลอดเลือดสมองโป่งพองเกิดจากอะไร ?
หลอดเลือดสมองโป่งพอง เกิดจากความเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดในสมองทำให้ผนังเส้นเลือดในบริเวณนั้นบางลงและโป่งพองออก จนอาจเกิดการแตกและมีเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมองตามมา สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดจากอายุที่มากขึ้น การที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดที่ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง การได้รับอุบัติเหตุทางสมอง การใช้สารเสพติดบางชนิดที่มีผลให้หลอดเลือดเสื่อม
อาการของหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นอย่างไร ?
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีหลอดเลือดสมองโป่งพองโดยไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองด้วยสาเหตุอื่น ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการนี้ อาจไม่สามารถรู้ตัวได้เลยว่าตนเองมีภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพองอยู่ ในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดสมองโป่งพอง อาจมีอาการดังนี้
- ผู้ป่วยที่หลอดเลือดโป่งพองมีขนาดใหญ่จนไปกดเบียดเนื้อสมองหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง จะมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทตามตำแหน่งที่โดนกดนั้น เช่น หนังตาตก ภาพซ้อน ปวดศีรษะข้างเดียว
- ในรายที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดบริเวณที่โป่งพองแล้วหลุดไปอุดหลอดเลือดส่วนปลาย จะมีอาการของเส้นเลือดสมองอุดตัน เช่น แขนขาอ่อนแรง ชา ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง เป็นต้น
- ในผู้ป่วยที่มีการแตกของหลอดเลือดสมองทำให้มีเลือดออกที่ชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน มักปวดมากบริเวณต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการหมดสติ ก้อนเลือดอาจไปกดเบียดเนื้อสมองทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้ และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
หลอดเลือดสมองโป่งพองวินิจฉัยได้อย่างไร ?
การวินิจฉัยหลอดเลือดสมองโป่งพอง อาศัยการถ่ายภาพรังสีด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
- การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
- การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสารทึบรังสี (Cerebral Angiography)
หลอดเลือดสมองโป่งพองรักษาอย่างไร ?
- ในผู้ป่วยที่ตรวจพบก่อนมีภาวะหลอดเลือดสมองแตก วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง อาการ และสุขภาพของผู้ป่วย เช่น การใส่ขดลวดเข้าไปในหลอดเลือดบริเวณที่โป่งพอง หรือการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วใช้คลิปหนีบ เพื่อห้ามไม่ให้เลือดเข้าไปในบริเวณนั้นจนเกิดหลอดเลือดโป่งพองมากขึ้นหรือแตกออก
- ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองแตกแล้ว ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยอาจต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเลือดที่คั่งอยู่ออก และซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง
การป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง
- งดอาหารเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติดต่างๆ
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เคยประสบอุบัติเหตุที่สมอง
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สมอง ศูนย์อายุรกรรมโรคระบบประสาทและสมอง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)