เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงปวดหัว กลุ้มใจ เมื่อลูกดื้อ ซน ไม่อยู่นิ่ง จนบางครั้งถึงขั้นกรีดร้อง เอาแต่ใจ ยิ่งถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับลูกอย่างไรดี ดังนั้นเรามีวิธีรับมือมาฝากดังนี้ค่ะ
วิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เมื่อลูกดื้อ ซน ไม่อยู่นิ่ง กรีดร้อง เอาแต่ใจ
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงปวดหัว กลุ้มใจ เมื่อลูกดื้อ ซน ไม่อยู่นิ่ง จนบางครั้งถึงขั้นกรีดร้อง เอาแต่ใจ ยิ่งถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับลูกอย่างไรดี ดังนั้นเรามีวิธีรับมือมาฝากดังนี้ค่ะ
- กำหนดทิศทางในการใช้พลังงานของเด็ก
อาการของเด็กสมาธิสั้นนั้นส่วนมากต้องการที่จะปลดปล่อยพลังงานอยู่ตลอดเวลาคุณพ่อคุณแม่ลองมาหากิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้นหรือวิธีที่เหมาะสมที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยและโดยปกติเด็กสมาธิสั้นจะมีพลังที่เหลือล้นในการทำกิจกรรมต่างๆให้เราหาสิ่งที่เขาชอบเพื่อตอบโจทย์เขา เพราะเด็กทุกคนต้องการได้เล่นอย่างอิสระ
- พูดคุยกับลูก เปิดใจรับฟังลูกอย่างเข้าใจ
บ่อยครั้งที่เด็กสมาธิสั้นจะถูกมองว่าซุกซนอยู่ไม่นิ่งวอกแวกง่ายหรือไม่ตั้งใจทำให้บางครั้งเด็กสมาธิสั้นจะถูกมองว่าเป็นเด็ฏไม่ดี ไม่เชื่อฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง คุณพ่อคุณแม่ ต้องเข้าใจว่าอาการสมาธิสั้นส่วนหนึ่ง เกิดจากคลื่นสมองที่ไม่เสถียร บางครั้งคลื่นสองมีความถี่สูง เด็กเลยพฤติกรรมที่ซุกซน พูดมาก คิดเร็ว ส่งผลให้บางครั้ง เขาต้องลุกขึ้นยืน ขยับร่างกาย หรือเปลี่ยอากัปกิริยาเพื่อให้พลังงานในตัวเขาถูกปลดปล่อยเพื่อที่ภายในตัวของเขาจะได้รู้สึกสงบลง หากว่าลูกอยู่ไม่นิ่งหรือมีอาการที่แสดงได้ว่าเข้าเป็นเด็กสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ควรมีการพูดคุยกับลูกเปิดใจรับฟังสิ่งที่เขาอยากพูดไม่ควรด่วนตัดสินจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจเด็กมากขึ้นและจะทำให้สามารถรับมือกับเขาได้อย่างเหมาะสมซึ่งการรับฟังลูกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพราะจะสร้างความมั่นใจ หรือรู้สึกด้อยค่า ไม่ทำให้เขารู้สึกผิด หรือรู้สึกว่าเป็นเด็กสมาธิสั้นคือเด็กไม่ดี
- ช่วยลูกให้รู้จักวิธีการจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง
เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น จะมีปัญหาการจัดการกับความรู้สึกโกรธ เศร้า หรือวิตกกังวล ถือว่าเป็นเรื่องยากมากสำหรับเขา แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อยสนับสนุนเด็กให้เขาสามารถรับมืออย่างเหมาะสมและสอนให้เขารู้ว่า สิ่งใดเหมาะและสิ่งใดไม่เหมาะ เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวเขา
- ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลาย
คุณพ่อคุณแม่ควรลดเวลาการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มือถือ แท็บเล็ต ไปจนถึงการเลี้ยงดูลูก หลีกเลี่ยงการจ้องดูทีวีเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นได้ออกไปทำกิจกรรมภายนอกอาคาร ให้ได้เจอกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้เขาได้สูดหายใจเข้าอย่างเต็มปอดและผ่อนคลาย
- พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
การบำบัดรักษา เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การให้รางวัล เมื่อลูกประพฤติตัวดีเมื่อเขาเชื่อฟังหรือปฎิบัติตัวได้เป็นอย่างดีและควรทำอย่างต่อเนื่อง เพราะวิธีการรับมือกับเด็กสมาธิสั้นที่ดีคือการเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้วิธีคิดจิตใจและร่างกายเพื่องจัดการกับความคิดและพลังงานเขา ได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสิ่งที่เสริมพัฒนาการให้กับลูกทั้ง 5 ข้อแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การสนับสนุนให้ความสนใจในสิ่งที่ลูกชอบอยู่เสมอ ให้เวลากับลูกสม่ำเสมอเพื่อเขาจะได้ทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเต็มที่
โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ https://bit.ly/3d27RXv
โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา https://bit.ly/2Cbm0F0
โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ https://bit.ly/2UNkbUZ
โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ https://bit.ly/3fu0IRo
โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ https://bit.ly/3q8DZiS
โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี https://bit.ly/3q6LVkE