ปัจจัยภายในร่างกาย
- อดนอน
- นอนน้อย น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- นอนมากไป มากกว่า 9 ชั่วโมง
- ช่วงมีรอบเดือน
- ร่างกายดหนื่อยล้ามาก จากทำงานหรือ ออกกำลังกาย
ปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์
- อารมณ์เครียด
- หดหู่ใจ
ปัจจัยภายนอกร่างกาย
- แสงจ้า
- เสียงดัง
- กลิ่นน้ำหอม
- ควันบุหรี่
- อากาศร้อนจัด
- การเปลี่ยนอากาศร้อน เย็น กลับไป-มา
- การเดินทางข้ามทวีป เปลี่ยนเวลา
- การขึ้นที่สูง
อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด
- ถั่ว
- ชอคโกแลต
- เนย
- กล้วย ทุเรียน หรือ มะละกอ ปริมาณมาก
- เค้ก ขนมปัง แยมโรล อาหารกลุ่มเบเกอรี่
- ขนมขบเคี้ยวที่ใส่ผงฟู
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
- หัวหอม
- อาหารหมักดอง
- อาหารรมควัน แฮม ไส้กรอก
- ผงชูรส สารกันบูดในอาหาร
- ภาวะอดอาหาร การกินอาหารไม่ตรงเวลา
ยา บางชนิด
- ฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิดบางชนิด
- ยาฆ่าเชื้อ แก้อักเสบบางชนิด
- ยาต้านโรคซึมเศร้า
- ยาลดความดันโลหิตสูง
- วิตามินเอขนาดสูง
- คาเฟอีนในชา หรือกาแฟ อาจเป็นได้ทั้งปัจจัยกระตุ้นให้ปวด หรืออาจทำให้อาการดีขึ้น
การมีปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ร่วมกันหลายๆ อย่างสะสมในช่วงแต่ละวันร่วมกัน กระตุ้นให้อาการปวดหัว หรือไมเกรน กำเริบได้ ดังนั้นเปาหมายในการรักษา
- การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้ เป็นหลักการรักษาโดยไม่ใช้ยา
- การรับประทานยาแก้ปวดหัว ควรเริ่มใน 1-3 ชั่วโมงแรกจะได้ผลดีที่สุด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาระงับปวดบ่อย และไม่ควรใช้ยาตัวเดิมทุกครั้ง เพราะจะติดยา หรือดื้อยาได้
- ในผู้ป่วยบางราย นอกจากยาระงับปวดเป็นครั้งคราวแล้ว อาจต้องใช้ยาป้องกันการปวด ต่อเนื่องอย่างน้อย 2-6 เดือน เพื่อลดความถี่ และลดความรุนแรงของการปวดหัวด้วย
- การผ่อนคลายสมาธิ คิดเชิงบวก ลดความตึงเครียดทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งการออกกำลังแบบเบาๆ ต่อเนื่องนาน 30 นาที จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคปวดศีรษะได้
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)