ปอดอักเสบ

9 ส.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ระบบทางเดินหายใจและปอด โรงพยาบาลสินแพทย์

ปอดอักเสบ (Pneumonitis) หรือ ปอดบวม เป็นการอักเสบของเนื้อปอด โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบ



ปอดอักเสบ (Pneumonitis) หรือ ปอดบวม เป็นการอักเสบของเนื้อปอด โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบ

 

สาเหตุ โรคปอดอักเสบ

 

  1. ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ Pneumonia (ปอดบวม) เกิดจากการที่เชื้อเข้าสู่ปอดแล้วทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด เนื้อเยื่อปอด ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา

 

  • เชื้อแบคทีเรียที่พบมักได้แก่ เชื้อ Strepto coccus pneumonia เชื้อ Haemophilus influenza type b, เชื้อ Chlamydia pneumoniae, เชื้อ Legionella spp และเชื้อ Mycoplasma pneuoniae
  • เชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อ Respiratory Syneytial virus (RSV) เชื้อ Influenza หรือ เชื้อไข้หวัดใหญ่
  • เชื้อรา จากมูลนก หรือ ซากพื้ชซากสัตว์

 

2. ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

  • เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิด การระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด และยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจ บางชนิด

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถเกิดได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยเสียงอื่นๆ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่รักษาตัวให้อยู่ในห้อง ICU
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้ยาเคมีบำบัด หรือได้รับยากดภูมิเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

 

สามารถรับเชื้อที่ทำให้ปอดอักเสบทางใดบ้าง

  • ไอ จาม หรือ หายใจรดกัน ซึ่งเป็นการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศ ที่เป็นละอองฝอยขนาดเล็ก เข้าสู่ปอดโดยตรง
  • การสำลักเชื้อ ที่อยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เข้าสู่ปอด เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร สารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร ซึ่งอาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการกลืน หรือผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ
  • การติดเชื้อจากกระแสโลหิต แพร่เข้าสู่ปอด เช่น ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ หรือ ใส่สายเข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลานานๆ
  • ติดเชื้อลุกลามจากอวัยวะข้างเคียงปอด เช่น ฝีในตับแตกเข้าสู่เนื้อปอด หรือ ฝีอวัยวะภายในใกล้เคียงปอด
  • การทำหัตถการบางอย่าง เช่น การส่องกล้องหลอดลม ดูดเสมหะ การใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพปอด ที่มีการปนเปื้อน ต่างๆ

 

 

การตรวจวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ

  • แพทย์ซักประวิติ สอบถามอาการ ตรวจร่างกาย
  • อาการไอแบบมีเสมหะ มีไข้ และหายใจหอบเหนื่อย
  • ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด
  • เอ็กซเรย์ปอด
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจแยกเชื้อ
  • ตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
  • ตรวจวัดออกซิเจนในเลือด
  • ตรวจและเพาะเชื้อจากเสมหะและเลือด เพื่อหาสาเหตุ

 

 

อาการโรคปอดอักเสบ

การรักษาจะแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการและเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้ปอดอักเสบ และต้องเฝ้าระวังอาการ โดยเฉพาะหากพบอาการปอดอักเสบ ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และในช่วงที่มีการระบาด ลักษณะอาการที่สำคัญของปอดอักเสบมี ดังนี้

  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอก ขณะหายใจ หรือ ขณะไอ
  • หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
  • มีไข้ เหงื่ออก หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือ ท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย
  • ในผู้สูงอายุ มีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่าปกติ
  • เด็กเล็ก อาจมีอาการท้องอืดร่วมด้วย อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ

 

อาการและความรุนแรงของโรคปอดอักเสบ จะแตกต่างกันไปในแต่ละรายบุคคล ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ได้รับ ภูมิต้านทาน อายุ และ สภาพร่างกายของแต่ละคน

 

การรักษาโรคปอดอักเสบ

 

การรักษาโรคปอดอักเสบ เป็นการรักษาอาการปอดอักเสบร่วมกับการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะปอดอักเสบ

 

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ตรวจพบ
  • การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ สำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้ออื่นๆ แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และทำกายภาพบำบัดทรวงอก หรือหากมีอาการรุนแรงมากๆ อาจจำเป็นต้องใช้ท่อช่วยหายใจ
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน บางรายอาจพบฝีในปอด มีภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาขับน้ำออก หรือ ดูดออก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากผู้ป่วยอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต และจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ

 

 

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

 

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ แพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มเสียงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำหรือมีโรคประจำตัว และแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปอดอักเสบ

 

การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปอดอักเสบ

  • ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
  • ดูแลสุขอนามัย หมั่นล้างมือเป็นประจำ และ หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชน
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือ อากาศที่หนาวเย็น
  • เมื่อเป็นไข้หวัดควรรีบรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาให้หายตั้งแต่เนิ่นๆ
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจและปอด ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ