ปวดหลังรักษาได้…ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

11 มิ.ย. 2563 | เขียนโดย ศูนย์โรคปวดหลัง-ปวดคอ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

อาการปวดหลัง...เป็นปัญหาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์ทรมาร และเป็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กลับไม่มาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา บางคนมีอาการปวดไม่มากพอทนไหวก็จะทน ส่วนบางคนทนไม่ไหวก็จะซื้อยามาทานเอง แต่การซื้อยามาทานเองโดยไม่พบแพทย์ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตับและไต กลับเป็นผลร้ายตามมา บางคนก็ไม่อยากไปพบแพทย์เพราะความกลัว กลัวว่ามาตรวจแล้วอาจจะเจอโรคภัย คิดว่าเป็นเองเดี๋ยวก็หายเองได้ กลัวว่ามาแล้วเดี๋ยวหมอก็จะให้ผ่าตัด ที่มากกว่านั้น กลัวว่าผ่าตัดแล้วจะไม่ดีขึ้น จะเดินไม่ได้ บางครั้งอาจจะแย่ลงไปกว่าเดิมอีก หลากหลายสารพัดความกังวลที่จะคิดกันไป



ปวดหลัง…เป็นอาการที่ทำให้เกิดความทนทุกข์ทรมาน ซึ่งพบมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา บางคนปวดไม่มากพอทนไหวก็จะทน ส่วนบางคนทนไม่ไหวก็จะซื้อยามากินเอง บางคนกินยานานๆ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อกระเพาะ ตับและไต กลับเป็นผลร้ายตามมา ความกลัว…เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากมาพบแพทย์ กลัวว่ามาตรวจแล้วอาจจะเจอโรคร้าย คิดว่าเป็นเดี๋ยวก็หาย กลัวว่ามาแล้วเดี๋ยวหมอก็จะให้ผ่าตัด ที่มากกว่านั้น กลัวว่าผ่าตัดแล้วจะไม่ดีขึ้น จะเดินไม่ได้ หลากหลายสารพัดความกังวลที่จะคิดกันไป

 

แต่จากการเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมาพบแพทย์ พบว่ามีจำนวนไม่ถึง 5% ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งโดยปกติการรักษาโรคปวดหลังในระยะแรกนั้น แพทย์จะพยายามให้การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด โดยให้ยารับประทานร่วมกับการทำกายภาพบำบัดก่อนเสมอ ยกเว้นในรายที่มีข้อบ่งชี้ หรือมีความจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการปวดไม่ทุเลาหลังจากทานยาแก้ปวด มีอาการชาไปยังปลายมือปลายเท้า หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเดินไกลๆ ซึ่งส่วนใหญ่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อมาพบแพทย์ ก็จะได้รับการตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและทำการรักษา บางรายอาจใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน อาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เลือกการรักษาด้วยการกินยาและการทำกายภาพบำบัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจใช้วิธีการฉีดยาเข้าโพรงรากประสาท เพื่อลดอาการอักเสบและระงับอาการปวด ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดบ่า คอ ร้าวไปที่แขน รู้สึกชาที่นิ้วมือคล้ายถูกยางรัด มีอาการปวดหลังร้าวไปที่สะโพกและขา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุอย่างเร่งด่วน ด้วยการทำเอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่ามีภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือฉีกขาด ทำให้กดทับรากประสาทของแขนหรือขา อีกทั้งผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะกระดูกสันหลังตีบแคบร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ถ้าเป็นไม่มาก สภาพของหมอนรองกระดูกยังดีอยู่ ก็อาจจะใช้วิธีการกรอหรือตัดชิ้นส่วนของกระดูกส่วนที่กดทับออก อาการปวดก็จะหายไป ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดใหญ่ แต่จำเป็นต้องใช้กล้องกำลังขยายสูง (Microscope) เพื่อช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังตีบแคบร่วมกับหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพมาก ก็อาจจะใช้วิธีการตัดกระดูกส่วนที่กดทับ เอาหมอนรองกระดูกสันหลังออก และใส่ตัวทดแทนหมองรองกระดูกสันหลังเข้าไปแทน ร่วมกับการใส่สกรูยึดตรึงกระดูกสันหลัง

 

จากข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการรักษามากขึ้น แม้หากจำเป็นต้องผ่าตัดก็ไม่น่ากังวลเหมือนแต่ก่อน เพราะเทคโนโลยีการรักษาในปัจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก ส่วนใหญ่นอน รพ.เพียง 3-5 วัน ก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

สิ่งสำคัญ คือ การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคปวดหลัง จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดโดยหลีกเลี่ยงการยกของหนักที่มากกว่า 4-5 กิโลกรัม หากจำเป็นจะต้องยกควรยกด้วยท่าทางที่ถูกต้องหรือใช้อุปกรณ์ช่วย เลือกประเภทการออกกำลังที่เหมาะสม และทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังโดยรอบแข็งแรง ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยประคับประคองให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังของเรามีอายุการใช้งานได้นานขึ้น

 

โรคกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันตรงที่มีอาการมากหรือน้อยเท่านั้น     หากท่านเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ แนะนำให้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกสันหลังในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมทางด้านเทคนิคและอุปกรณ์ช่วยการผ่าตัดที่ทันสมัย จะเป็นผลดีมากที่สุด ก่อนที่อาการดังกล่าวจะเป็นมากขึ้น

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจกระดูกและข้อ
แพ็กเกจฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อฉีด 5 เข็ม
ราคา
31,000 ฿
แพ็กเกจผ่าตัดและผ่าตัดส่องกล้อง
แพ็กเกจผ่าตัดส่องกล้องเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL)
ราคา
230,000 ฿