ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ควรตรวจส่องกล้อง หามะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งการขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายเป็นเลือดมีสิทธิ์เสี่ยงเป็นมะเร็งได้ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ใครมีสัญญาณเตือนควรรีบเข้ารับการตรวจเพื่อพ้นจากการถูกโรคภัยคุกคาม เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา
ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ควรตรวจส่องกล้อง หามะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งการขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายเป็นเลือดมีสิทธิ์เสี่ยงเป็นมะเร็งได้ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ใครมีสัญญาณเตือนควรรีบเข้ารับการตรวจเพื่อพ้นจากการถูกโรคภัยคุกคาม เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา
มะเร็งลำไส้ใหญ่
พบมากเป็นอันดับสามของมะเร็งทุกชนิด และจัดเป็นสาเหตุการตายอันดับสอง โรคนี้หาตรวจค้นพบได้ตั้งแต่ในระยะแรก โอกาสรักษาหายสูงถึงประมาณ ร้อยละ 90
ใครบ้างที่ควรตรวจหาความผิดปกติในลำไส้
- กลุ่มที่มีอาการ คือ มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายบ่อย ถ่ายลำบาก ท้องเสียสลับท้องผูกมีลักษณะอุจจาระเป็นเม็ดเล็กๆ หลายเม็ด มีความารู้สึกเหมือนถ่ายไม่หมด ถ่ายเป็นเลือด เป็นมูกหรือมีมูกปนเลือด ปวดท้องเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด ซีด
- กลุ่มที่ไม่มีอาการ คือ อายุ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานและอ้วน
เทคโนโลยีตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่
ใช้การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า โคโลโนสโคป (Colono scope) แพทย์จะส่องกล้องเข้าไปดูลำไส้ใหญ่เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ แผล
การตรวจด้วยวิธีนี้จะเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อบริเวณลำไส้จะสามารถตัดชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคเพิ่มเติมโดยเฉพาะโรคมะเร็งได้อีกด้วย อีกทั้งยังใช้ในการห้ามเลือดที่บริเวณลำไส้ หรือ ใช้เพื่อการชี้บอกตำแหน่งให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ
มะเร็งลำไส้ใหญ่
ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือ มีประวัติคนในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง ควรตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้ง และติดตามต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
คำแนะนำเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ไม่มีสารเคมีหรือยาอะไรที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ จึงไม่ควรเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อในเรื่อง
อาหารเสริม หรือการทำดีทอกซ์ลำไส้ใหญ่ เพราะนอกจากเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อน
จากสารเคมี หรือเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการแตกของลำไส้ใหญ่จากการทำดีท็อกซ์ เพราะยังไม่มีข้อพิสูจน์ถึง
ประโยชน์ที่ชัดเจนที่ได้รับจากการทำดีท็อกซ์ - แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
- ควรได้รับการตรวจส่องกล้องหามะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ มีคนในครอบครัว
เป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะมะเร็งในอวัยวะใดๆ ก็ตาม และตามข้อแนะนำของสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป
ควรได้รับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังต่อเนื่องมายาวนาน - ผู้ที่มีประวัติครอบครัว มีเนื้องอกที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางประเภท ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรอง
โรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคปวดท้อง แผนกระบบทางเดินอาหาร ตับ และ ทางเดินน้ำดี
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)