เทคโนโลยี ไฟโบรสแกน (Fibroscan) ตรวจไขมันพอกตับ

23 ก.พ. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

วันนี้ ท่านดูแลสุขภาพตับดีแล้วหรือยัง ? คุณสามารถตรวจสุขภาพตับของคุณด้วยวิธีง่ายๆกับไฟโบรสแกน Fibroscan ไม่ต้องเจาะตับ ไม่เจ็บ ทราบผลทันที



วันนี้ ท่านดูแลสุขภาพตับดีแล้วหรือยัง ? คุณสามารถตรวจสุขภาพตับของคุณด้วยวิธีง่ายๆกับไฟโบรสแกน Fibroscan

ไม่ต้องเจาะตับ ไม่เจ็บ ทราบผลทันที

 

มารู้จัก “ตับ” มารู้จักตับกันเถอะ

 

ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่บริเวณชายโครงด้านขวา  โดยมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

  • ผลิตน้ำดี เพื่ออาหารประเภทไขมัน
  • เป็นแหล่งสะสมไกลโคเจน (แหล่งพลังงานของร่างกาย) ซึ่งจะถูกนำไปใช้เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน
  • กำจัดของเสียออกจากร่าง เช่น สารพิษ แอลกอฮอล์ ยา บิลิรูบิน (เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว)
  • เป็นแหล่ง “สร้าง” “เก็บ”  และ “ทำลาย” ไขมัน คอเรสเตอรอล
  • ควบคุมสมดุลต่างๆ ของร่างกาย

 

เมื่อ  “ตับ” โดน “ทำร้าย”

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน  การใช้ยาเกินความจำเป็น  การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ

เมื่อตับอักเสบติดต่อกันเป็นเวลานาน เซลล์ตับจะเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดภาวะตับแข็งได้

อาการของผู้ป่วยโรคตับแข็งแบ่งได้ 2 ระยะ  คือระยะไม่แสดงอาการ  โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะอยู่ในระยะไม่แสดง อาจนานนับ 10 ปี  ฉะนั้น  หากเราไม่ตรวจสุขภาพแบบเฉพาะเจาะจง  จะไม่มีทางรู้เลยว่ากำลังป่วยเป็นตับแข็ง

เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะอสดงอาการ  จะมาพบแพทย์ด้วยอาการหลักๆ  อ่อนเพลีย  ตัวเหลือง  ตาเหลือง  เลือดออกแล้วหยุดยาก  เกิดขึ้นตามตัวได้ง่าย ขาบวม ท้องโต มีน้ำคั่งในช่องท้อง เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร

 

ระยะอาการ  “ตับแข็ง” 

  • ปกติตับจะมีสีแดงผิวเรียบเนียน
  • เมื่อเกิดอาการอักเสบเซลล์ตับตาย ตับจะมีสีคล้ำขึ้น
  • เมื่อตับอักเสบนานๆ เซลล์ตับถูกทำลายไปเรื่อยๆ เริ่มเกิดรอยแผลเป็นในตับ พอหายก็เป็นแผลเป็นลักษณะเป็นผังผืดดึงรั้งเนื้อตับให้บิดเบี้ยวไปจากเดิม  และบางรายอาจเป็นมะเร็งตับ

 

ไฟโบรสแกน คืออะไร?

เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด  ในการตรวจหาภาวะผังพืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ  โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ  กับร่างกาย  และลดอัตราความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตับ (liver  biopsy)

 

 

หลักการการทำงานของเครื่องไฟโบรสแกน

ทำงานด้วยเทคโนโลยี VCTE Vibration Controlled Transient Elastography

โดยเครื่องทำหน้าที่สร้างและส่งผ่านคลื่น shear wave ความถี่ 50 เฮิรตซ์  ที่ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนัง  ส่งผ่านเข้าไปยังเนื้อตับ  จากนั้นเครื่องวัดความเร็วของ shear wave ที่เคลื่อนกระจายผ่านเนื้อตับ  ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  แล้วคำนวณเป็นผลค่าความแข็งเนื้อตับ  หน่วยตับ  หน่วยแสดงผลเป็น กิโลพาสคาล (kPa) ยิ่งตับแข็งมาก shear wave ก็จะเคลื่อนที่เร็วมาก  ค่าความแข็งเนื้อตับก็ยิ่งสูง

ส่วนการวัด  ปริมาณไขมันสะสมในตับ  สามารถวัดได้ด้วยการทำงาน CAP (Controlled Attenuation Parameter) โดยวัดการลดทอนของคลื่นเสียงความถี่สูง ที่เข้าและออกจากตับ  หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก  ผลที่วัดได้ ค่า CAP จะสูงหน่วยแสดงผลเป็น เดซิเบล/เมตร (dB/m)

 

ตรวจ ไฟโบรสแกน เจ็บปวดหรือไม่?

  • ไม่เจ็บ ตรวจง่าย รวดเร็ว  ทราบผลทันที
  • งดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

**ในกรณีต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด  สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้ง และปลอดภัย

 

ผังผืดในตับ E (kPa) : คะแนนยิ่งสูงพังผืดยิ่งมาก

ไขมันในตับ CAP (dB/m) : คะแนนยิ่งสูงมันยิ่งมาก

ผลตรวจไฟโบรสแกน สามารถช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรค  และประเมินความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับและตับแข็ง  เพื่อดูผลการตอบสนองของการรักษา  และวางแผนการรักษาต่อไป  โดยการใช้แทนการเจาะเนื้อตับ  ในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฏิเสธการเจาะตับ

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ ไฟโบรสแกน

  • ผู้ป่วยที่อยุ่ในความเสี่ยงไวรัสตับอักเสบ
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
  • ดื่มสุราเป็นเวลานาน
  • ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับและภาวะลงพุง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผลตรวจมีภาวะตับผิดปกติ เช่น ผลตรวจจาก Liver Function, Ultrasound, CT
  • รับประทานยา, สมุนไพร, ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สำหรับคนทั่วไป ที่ต้องการดูแลสุขภาพ

 

ดูแลตับตั้งแต่วันนี้  ก่อนสายเกินไป

ตรวจไขมันพอกตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ทราบผลทันที

3,000 บาท

*ไฟโบรสแกน (Fibroscan) เป็นเทคโนโลยีในการตรวจหาปริมาณไขมันที่สะสมในตับและบอกได้ว่าตับของท่านมีผังผืดมากจนมีภาวะตับแข็งหรือไม่

เงื่อนไข

  • ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าแพทย์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

SHARE