การตรวจภายในไม่ได้เป็นน่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด หากเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนั้น แนะนำให้ผู้หญิงทุกราย เข้ารับการตรวจภายในพร้อมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคร้าย
การตรวจภายใน คือ
การตรวจหาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ผู้หญิงตั้งแต่ รังไข่ ท่อรังไข่ และมดลูก ผู้หญิงสามารถตรวจภายในได้ทุกช่วงอายุ ยกเว้นคนที่ผ่าตัดมดลูกพร้อมปากมดลูกไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตรวจภายใน
การตรวจภายจะช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทราบผลภายในหนึ่งวัน ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทราบผลหลังจากตรวจประมาณ 7-10 วัน
โรคที่ต้อง ตรวจภายใน
- รังไข่ (Ovary)
- ท่อนำไข่ (Fallopian Tube)
- มดลูก (Uterus)
- เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium)
- ปากมดลูก (Cervix)
- ช่องคลอด (Vagina)
- อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอก (Genital Organs Outside)
โรคทางนรีเวช ภายในของผู้หญิงที่พบบ่อย
- โรคตกขาว
- เลือดออกผิดปกติ
- ประจำเดือนมาไม่ตรงหรือมาน้อย
- ปวดท้องมากเวลามีประจำเดือน
- ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ตรวจภายใน สำคัญกว่าที่คิด
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่อต้องตรวจภายในเท่านั้น นอกจากนี้ยังโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบอวัยวะภายใน เช่น มดลูก รังไข่ ฯลฯ และปัญหาที่พบมาก คือ ปวดประจำเดือนเรื้อรัง มีลูกยาก หรือมะเร็ง ดังนั้น การตรวจภายในจึงจำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน
ตรวจภายในครั้งแรก เตรียตัวอย่างไรบ้าง
การเตรียมตัวก่อนตรวจภายโดยไม่เข้ารับการตรวจในช่วงมีประจำเดือน แนะนำเข้ารับการตรวจเมื่อประจำเดือนหมดสนิทประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ เข้ารับการตรวจในช่วงก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์
- ก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดก่อนการตรวจภายใน 2 วัน
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย แนะนำให้ใส่กระโปรง และไม่ควรนุ่งกางเกงที่รัดจนเกินไป
- สำหรับผู้ที่มีปัญหาตกขาว สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องพยายามชำระล้างเพื่อให้แพทย์เห็นปริมาณและตรวจหาเชื้อได้
- ไม่ต้องโกนขนอวัยวะเพศ
- ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจภายใน
- หากไม่เคยตรวจภายใน และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ รู้สึกเขินอาย สามารถแจ้งพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอตรวจโดยแพทย์ผู้หญิงได้ โดยทั่วไปแล้วหากเป็นแพทย์ผู้ชายก็จะมีพยาบาลผู้ช่วยซึ่งเป็นผู้หญิงภายในห้องตรวจอยู่ด้วยตลอดเวลา
- ในกรณีมีประจำเดือน และปวดท้อง ประจำเดือนมากจนทนไม่ไหว สามารถมาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหยุดก่อน
- การตรวจภายในใช้ระยะเวลาประมาณ 10 นาที หลังจากแพทย์ทำการซักประวัติคนไข้ และสอบถามให้คำปรึกษาอาการและความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์สตรี หากรู้สึกสงสัยท่านสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ทันที
ขั้นตอนการตรวจภายใน เป็นอย่างไร
- ก่อนเข้ารับการตรวจเจ้าหน้าที่พยาบาลจะให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ก่อนที่แพทย์จะให้ขึ้นขาหยั่ง
- นอนบนเตียงสำหรับตรวจ เอาพาดขา 2 ข้าง ในที่วางขา เพื่อให้สามารถอ้าขาออกได้
- อาจความเขินอายแนะนำให้ทำใจให้สบาย พยายามอย่าเกร็ง เพื่อให้แพทย์ตรวจได้สะดวก
- ใช้เวลาไม่นาน
ลำดับการตรวจภายในจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
- ช่วงแรกแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายปากเป็ด หรือที่เรียกว่า speculum กับการใช้นิ้วตรวจภายในช่องคลอด ในส่วนของการใส่อุปกรณ์ปากเป็ดแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม สอดเบา ๆ เข้าไปในช่องคลอด เมื่อได้ตำแหน่งแพทย์จะกางอุปกรณ์ออกเพื่อดูผนังช่องคลอด ดูปากมดลูก
- ช่วงที่สอง หากตรวจมะเร็งปากมดลูก ในช่วงเวลานี้แพทย์จะเอาอุปกรณ์เข้าไปเก็บเซลล์ปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจคัดกรองในห้องปฏิบัติการ ต่อไป
เป็นสาวโสด ไม่เคยตรวจภายใน จะเจ็บหรือไม่
หากผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือ เป็นสาวโสด แพทย์มักจะสอบถามก่อนเข้ารับการตรวจ และจะเลือกใช้เครื่องมือที่มีขนาดเล็ก หรือใส่น้ำยาหล่อลื่น เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บ แต่อาจรู้สึกตึงๆ เจ็บๆ ขณะที่สอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด แต่หลังจากตรวจภายในเสร็จสิ้นแล้ว อาการเหล่านั้นก็จะหาย
ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ จำเป็นต้องตรวจภายในหรือไม่
ถ้าไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจภายในไม่ได้ตรวจหามะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการตรวจรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก ที่อาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรตรวจภายในในสตรีทุกราย ทุกๆ 1 ปี
ตรวจภายในได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่
แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 25-30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุ 25 ปี ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค แม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เนื่องจากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หากไม่การอักเสบรุนแรง ดังนั้น การตรวจภายในทุกปี จึงเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ตรวจภายในเป็นประจำทุกปี…ยิ่งดี
เพื่อความมั่นใจว่าสุขภาพภายในของเราว่าปกติดี หรือ หากมีความผิดปกติ การตรวจภายในเป็นประจำทุกปี จะทำให้เราพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ ในระยะเริ่มแรก เพื่อนำไปสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ก่อนลุกลาม ทำให้การรักษาได้ผลดี การตรวจภายในไม่ได้เป็นน่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด หากเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนั้น แนะนำให้ผู้หญิงทุกราย เข้ารับการตรวจภายในพร้อมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคร้าย
-
พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกสูตินรีเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)