การบาดเจ็บที่เข่า จากอุบัติเหตุทางกีฬาและการออกกำลังกาย

8 มี.ค. 2564 | เขียนโดย นพ.อุกฤษฏ์ ปุระสิริ

“สาเหตุของการบาดเจ็บที่เข่าเป็นเช่นไร และกีฬาอะไรที่มีความเสี่ยง” ปัจจุบันกระแสความนิยมด้านการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย กำลังเป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางกีฬาที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ”ข้อเข่า” สาเหตุของการบาดเจ็บของข้อเข่ามักเกิดจากการบิดของข้อเข่าที่ผิดปกติของข้อเข่า หรือการบาดเจ็บจากกระแทกโดยตรงบริเวณเข่า เช่นการเสียหลักจากการเปลี่ยนทิศทางขณะวิ่ง การถูกกระแทกบริเวณข้างเข่าขณะที่เท้ายันพื้น เป็นต้น โดยกีฬาที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บที่ข้อเข่ามากขึ้น คือ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล สเก็ตบอร์ด กรีฑา เป็นต้น “อาการเมื่อมีการบาดเจ็บที่เข่าเป็นเช่นไร แล้วจะมาพบแพทย์เมื่อไหร่ดี” “ปวดเข่า” “เข่าบวม” “ลงน้ำหนักไม่ได้” “รู้สึกเข่าทรุด เข่าหลวม โดยเฉพาะเวลาที่วิ่งเร็วๆ หรือบิดตัวไวๆ” “อาการปวดบริเวณหน้าเข่า” คืออาการที่พบได้บ่อย อวัยวะโครงสร้างของข้อเข่าที่มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บบ่อยๆ ไม่ได้มีเพียงแค่กระดูก แต่ยังมีโครงสร้างอีกหลายชนิดที่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บ เช่น เส้นเอ็นภายในเข่า (เอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง) หมอนรองกระดูกเข่า กระดูกอ่อนผิวข้อ เยื่อหุ้มข้อและเอ็นข้างข้อ รวมถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบเข่า ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากกีฬาที่ข้อเข่ามีอาการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรง และระยะเวลาจากการบาดเจ็บ ยกตัวอย่างในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉียบพลัน บางรายอาจจะได้ยินเสียง “ก๊อป” ที่หัวเข่าขณะที่เกิดอาการบิดรุนแรงที่หัวเข่า มีอาการปวดเฉียบพลันร่วมกับอาการบวมภายในข้อเข่าทันที แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาด้วยการใส่เฝือกจนอาการปวดดีขึ้น แต่หากยังมีสูญเสียหน้าที่ของเส้นเอ็นไขว้หน้า ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเข่าที่ไม่มั่นคง มีอาการสะดุด หรือเข่าทรุด หลวมขณะที่มีการบิดของเข่าขณะวิ่งหรือขณะบิดตัว โดยไม่มีอาการปวดเลยก็เป็นได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดบวมที่เข่าเฉียบพลันขณะเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย หรือมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นร่วมกับประวัติอุบัติเหตุที่ข้อเข่าควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ทำการถ่ายภาพถ่ายรังสี และอาจมีความจำเป็นต้องทำการตรวจภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อวางแผนในการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ “แล้วจะรักษาอย่างไร ต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่” รักษามีทั้งการผ่าตัดและไม่ผ่าตัดขึ้นอยู่กับอวัยวะโครงสร้างที่ได้รับการบาดเจ็บ ความรุนแรง และความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน ในการบาดเจ็บหากเป็นการอักเสบหรือการฉีกขาดที่ไม่เสียโครงสร้างและหน้าที่ต้องอวัยวะนั้นๆ สามารถรักษาด้วยที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่นการใส่เฝือก การลดอาการปวด การประคบเย็น การกินยา รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเป็นต้น แต่ในทางกลับกันหากโครงสร้างหรืออวัยวะบริเวณเข่าที่ได้รับบาดเจ็บสูญเสียโครงสร้างและหน้าที่ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้เข่าได้ตามปกติ หรืออาจส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนผิวข้อและเกิดข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะภายในเข่าที่ได้รับบาดเจ็บ ปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการผ่าตัดที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopy) ซึ่งสามารถประเมินการบาดเจ็บภายในข้อเข่าได้ชัดเจน แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก พักพื้นได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตและเล่นกีฬาได้ไวมากขึ้น



“สาเหตุของการบาดเจ็บที่เข่าเป็นเช่นไร และกีฬาอะไรที่มีความเสี่ยง”

 

ปัจจุบันกระแสความนิยมด้านการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกาย กำลังเป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางกีฬาที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ”ข้อเข่า” สาเหตุของการบาดเจ็บของข้อเข่ามักเกิดจากการบิดของข้อเข่าที่ผิดปกติของข้อเข่า หรือการบาดเจ็บจากกระแทกโดยตรงบริเวณเข่า เช่นการเสียหลักจากการเปลี่ยนทิศทางขณะวิ่ง การถูกกระแทกบริเวณข้างเข่าขณะที่เท้ายันพื้น เป็นต้น โดยกีฬาที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บที่ข้อเข่ามากขึ้น คือ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล สเก็ตบอร์ด กรีฑา เป็นต้น

 

“อาการเมื่อมีการบาดเจ็บที่เข่าเป็นเช่นไร แล้วจะมาพบแพทย์เมื่อไหร่ดี”

 

“ปวดเข่า” “เข่าบวม” “ลงน้ำหนักไม่ได้” “รู้สึกเข่าทรุด เข่าหลวม โดยเฉพาะเวลาที่วิ่งเร็วๆ หรือบิดตัวไวๆ” “อาการปวดบริเวณหน้าเข่า” คืออาการที่พบได้บ่อย

 

อวัยวะโครงสร้างของข้อเข่าที่มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บบ่อยๆ ไม่ได้มีเพียงแค่กระดูก แต่ยังมีโครงสร้างอีกหลายชนิดที่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บ เช่น เส้นเอ็นภายในเข่า (เอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง) หมอนรองกระดูกเข่า กระดูกอ่อนผิวข้อ เยื่อหุ้มข้อและเอ็นข้างข้อ รวมถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบเข่า ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากกีฬาที่ข้อเข่ามีอาการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรง และระยะเวลาจากการบาดเจ็บ

 

ยกตัวอย่างในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉียบพลัน บางรายอาจจะได้ยินเสียง “ก๊อป” ที่หัวเข่าขณะที่เกิดอาการบิดรุนแรงที่หัวเข่า มีอาการปวดเฉียบพลันร่วมกับอาการบวมภายในข้อเข่าทันที แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการรักษาด้วยการใส่เฝือกจนอาการปวดดีขึ้น แต่หากยังมีสูญเสียหน้าที่ของเส้นเอ็นไขว้หน้า ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเข่าที่ไม่มั่นคง มีอาการสะดุด หรือเข่าทรุด หลวมขณะที่มีการบิดของเข่าขณะวิ่งหรือขณะบิดตัว โดยไม่มีอาการปวดเลยก็เป็นได้

 

ดังนั้นหากมีอาการปวดบวมที่เข่าเฉียบพลันขณะเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย หรือมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นร่วมกับประวัติอุบัติเหตุที่ข้อเข่าควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ทำการถ่ายภาพถ่ายรังสี และอาจมีความจำเป็นต้องทำการตรวจภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อวางแผนในการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ

 

“แล้วจะรักษาอย่างไร ต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่”

 

รักษามีทั้งการผ่าตัดและไม่ผ่าตัดขึ้นอยู่กับอวัยวะโครงสร้างที่ได้รับการบาดเจ็บ ความรุนแรง และความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน ในการบาดเจ็บหากเป็นการอักเสบหรือการฉีกขาดที่ไม่เสียโครงสร้างและหน้าที่ต้องอวัยวะนั้นๆ สามารถรักษาด้วยที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่นการใส่เฝือก การลดอาการปวด การประคบเย็น การกินยา รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเป็นต้น แต่ในทางกลับกันหากโครงสร้างหรืออวัยวะบริเวณเข่าที่ได้รับบาดเจ็บสูญเสียโครงสร้างและหน้าที่ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้เข่าได้ตามปกติ หรืออาจส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนผิวข้อและเกิดข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะภายในเข่าที่ได้รับบาดเจ็บ

 

ปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการผ่าตัดที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopy) ซึ่งสามารถประเมินการบาดเจ็บภายในข้อเข่าได้ชัดเจน แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก พักพื้นได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตและเล่นกีฬาได้ไวมากขึ้น

 


ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ
คลิกลิงค์เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

SHARE