การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI)

25 พ.ค. 2563 | เขียนโดย Smart Center ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

วิํธีการนี้จะคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วมาก ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่จะเป็นวิธีช่วยปฏิสนธิโดยใช้เข็มดูดตัวอสุจิขนากเล็กเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ 1 ใบ โดยผ่านเครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมาก



วิํธีการนี้จะคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วมาก ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่จะเป็นวิธีช่วยปฏิสนธิโดยใช้เข็มดูดตัวอสุจิขนากเล็กเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ 1 ใบ โดยผ่านเครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมาก เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ ที่มีกำลังขยาย 200-400 เท่า มีอุปกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า Micromanipulator ชนิด 3 มิติ ติดตั้งอยู่จากนั้นจะนำไข่ที่ได้รับการฉีดเชื้ออสุจิไปตรวจสอบการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน หรือ จนถึงระยะบลาสโตซีสท์ จากนั้นก็ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก

 

วิํธีการทำอิ๊กซี่ นี้เป็นวิธีการช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายที่มีความผิดปกติของเชื้ออสุจิอย่างมาก

 

ขั้นตอนในการทำอิ๊กซี่

 

  • กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมนให้เกิดไข่หลายๆ ใบ
  • ติดตามการเจริญของถุงไข่ด้วยอับตราซาวด์ทางช่องคลอด ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุก และรอไข่เจริญเติบเต็มที่ ซึ่งไข่จะสุกเต็มที่หลังฉีดยา ประมาณ 34-36 ชั่วโมง
  • เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ที่มีหัวตรวจสอบทางช่องคลอด แล้วใช้เข็บขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะที่คนไข้ได้รับยาระงับความรู้สึก
  • เตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
  • นำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์ โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ
  • ตรวจสอบการปฏิสนธิ เพื่อพิจารณาเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพื่อย้ายเข้าโพรงมดลูก หรือ แช่แข็งต่อไป
  • นำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ย้ายเข้าโพรงมดลูก ด้วยวิธีการคล้ายกับการตรวจภายใน อาจจำเป็นต้องให้ยาฮอร์โมนเพื่อทดแทนการทำงานของรังไข่

 

อาจต้องใช้เทคโนโลยีการรักษาเพิ่มเติม

 

  • การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
  • การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในกรณีการรับไข่บริจาค
  • การนำเชื้ออสุจิออกจากอัณฑะ ด้วยวิธี เทเซ่ (TESE) หรือ มีซ่า (MESA)
  • การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสท์ (Blastocyst Culture)
  • บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)

 

อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการต่างๆ มีมากน้อยเพียงใด

 

ความสำเร็จในแต่ละรอบของการรักษาภาวะมีบุตรยากจะแตกต่างกัน ตามวิธีการ ดังนี้

 

  1. การคัดเลือกเชื้ออสุจิ สำหรับฉีดผสมเทียม (IUI) อัตราความสำเร็จประมาณ 10-15 %
  2. การทำเด็กหลอดแก้ว และ อิ๊กซี่ อัตราความสำเร็จประมาณ 30-40%

 

ความสำเร็จในการตั้งครรภ์นอกจากจะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีหรือ วิธีการแล้วความร่วมมือกันของสามีภรรยาในการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือในการรับการรักษาในขั้นตอนต่างๆ ร่วมกัน มาเป็นเพื่อนภรรยาทุกครั้ง ที่แพทย์นัดเท่าที่จะทำได้ อาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น

 

ปัญหา หรือ ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

 

  • รอบของการรักษาถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้ถุงไข่จำนวนน้อยเกินไป หรือ มากเกินไป จนทำให้รังไข่บวมโต มีน้ำในช่องท้อง หรือ ช่องปอด
  • ไข่ที่เก็บได้ไม่มีการปฏิสินธิ มีการติดเชื้อจากการเก็บไข่ หรือ ขั้นตอนการใส่ตัวอ่อน
  • การตั้งครรภ์แฝด ประมาณ 15-20%
  • การแท้ง ซึ่งมีโอกาสแท้งได้สูงกว่าคนทั่วไปบ้างเล็กน้อย

 

ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หลังได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

 

  • ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
  • ไม่ควรยกของหนัก และ ออกกำลังกายหักโหม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ลดความวิตกกังวล ความเครียด
  • รับประทานยา และ ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

Smart Center ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ