การดูแลสุขภาพเท้า… สำหรับ ผู้ป่วยเบาหวาน

20 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ถ้าเป็นแผลเล็กน้อยรอบแผลเป็นตุ่ม หรือ แผลถลอกรักษาแผลให้สะอาด แผลสดทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุกที่ทิ้งจนเย็น และสบู่อ่อนซับให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่น ยาเบตาดีน ยาเหลือง หรือ ยาปฏิชีวนะที่เป็นครีม โดยเช็ดจากในแผลวนออกรอบๆ แผล โดยไม่เช็ดซ้ำที่เดิม หลีกเลี่ยงการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาด ตรวจดูแผลทุกวันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าแผลไม่ดีขึ้น มีการอักเสบ ปวด บวมแดง จับดูร้อน หรือ มีไข้ควรปรึกษาแพทย์



ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

  • อายุและระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวาน พบว่าถ้าเป็นเบาหวานนาน 25 ปี และเป็นแผลที่เท้าจะมีโอกาสถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11
  • เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  • ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้า
  • อยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่เข้าสังคม
  • การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดอุดตัสได้
  • โรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากการควบคุมเบาหวานไม่ดี
  • มีประวัติเกิดแผลที่เท้ามาก่อน

 

5 ขั้นตอน ในการรักษาสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี
  • ดูแลสุขภาพเท้าอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • ตรวจดูเท้าทุกวัน
  • มีปัญหาที่เท้าต้องรักษาทันที
  • มาพบแพทย์และพยาบาลตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อพึงปฏิบัติในการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

  • ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา และสบู่อ่อนทุกวันหลังอาบน้ำไม่ควรใช้แปรง หรือของแข็งขัดเท้า
  • ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาดและนุ่ม โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว
  • สำรวจเท้าทุกวัน ถ้าพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ถ้าผิวแห้งอาจทำให้คัน ไม่ควรเกา ให้ทาครีมบางๆ เพิ่มความชุ่มชิ้นโดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าเพื่อป้องกันการหมักหมมอาจทำให้เกิดเชื้อโรคได้ง่าย
  • ถ้าผิดชื้นหรือเหงื่อออกง่าย หลังเช็ดเท้าแห้ง ควรโรยแป้งฝุ่น
  • ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายนุ่ม เปลี่ยนทุกวัน ไม่ใช้ถงเท้าไนล่อน ถุงเท้าที่รัดมาก ควรใส่ถุงเท้าทุกครั้งที่สวมรองเท้า
  • สวมรองเท้าที่เหมาะสม คือ มีขนาดพอดี สวมรองเท้าหุ้มส้น ส้นไม่สูง วัตถุที่ทำควรนิ่มใส่สบาย
  • เมื่อใส่รองเท้าคู่ใหม่ ควรใส่วันละ 30นาที-1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันรองเท้ากัด
  • สังเกตรอยแตกหรือตุ่มพองทุกครั้งหลังใส่รองเท้าคู่ใหม่
  • ก่อนใส่รองเท้าตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออก
  • การตัดเล็บให้ตัดตรงๆ เสมอปลายนิ้ว อย่าตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ หรือตัดลึกมาก ถ้ามีขบต้องปรึกษาแพทย์ควรตัดเล็บหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย
  • ไม่ควรแช่เท้าก่อนก่อนตัดเล็บ เพราะผิวหนังรอบเล็บอาจเปื่อยและเกิดแผลขณะตัด
  • ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัดควรใช้ผู้อื่นตัดเล็บให้
  • ในการใช้ตะไบเล็บเท้าที่หนาผิดปกติให้ตะไบไปทางเดียวกันไม่ควรย้อนไปมาเพื่อป้องกันการเสียดสีผิวหนังรอบเล็บ
  • ถ้ามีผิวหนังที่หนา เหรือตาปลา ควรได้รับการตัดให้บางๆ ทุก 6-8 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญ

 

ข้อห้ามปฏิบัติ

  • ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนอย่างเด็ดขาด
  • ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนวางบนเท้า หรือ ขา
  • ไม่ควรเดินเท้าเปล่าเมื่ออยู่ในบ้าน
  • ห้ามนั่งไขว่ห้าง อาจทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่สะดวก
  • ห้ามตัดตาปลา ลอกตาปลา หรือใช้ยาจี้หูดด้วยตนเอง

 

การบริหารเท้า

  • ทำให้การหมุนเวียนเลือดที่เท้าดีขึ้น อาจเดินเร็วขึ้น หรือ วิ่งเหยาะๆ วันละ 20-30 นาที
  • หมั่นบริหารเท้า ควรทำสม่ำเสมอให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

 

การดูแลตนเองเมื่อเกิดแผล

ถ้าเป็นแผลเล็กน้อยรอบแผลเป็นตุ่ม หรือ แผลถลอกรักษาแผลให้สะอาด แผลสดทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุกที่ทิ้งจนเย็น และสบู่อ่อนซับให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่น ยาเบตาดีน ยาเหลือง หรือ ยาปฏิชีวนะที่เป็นครีม โดยเช็ดจากในแผลวนออกรอบๆ แผล โดยไม่เช็ดซ้ำที่เดิม หลีกเลี่ยงการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาด ตรวจดูแผลทุกวันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าแผลไม่ดีขึ้น มีการอักเสบ ปวด บวมแดง จับดูร้อน หรือ มีไข้ควรปรึกษาแพทย์

ถ้าเป็นแผลยังไม่หายดีอย่าเดินไปมา การเดินทำให้เท้ารับน้ำหนักตัว ปากแผลจะเปิดทำให้แผลหายช้า ให้นอนพัก หรือใช้ไม้พยุงตัว ในกรณีที่ต้องการออกกำลังกายเลือกชนิดที่ไม่ต้องลงน้ำหนักหรืออกกำลังกายด้วยแขน

ถ้าแผลใหญ่อักเสบมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรักษาตั้งแต่ระยะแรกอย่ารักษาเอง หรือปล่อยทิ้งไว้นานๆ

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ

แผนกอายุรกรรมโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

SHARE