ความรู้สึกของผู้ที่เริ่มตั้งครรภ์ มีทั้งดีใจ สมหวัง หลายคนรู้สึกวิตกกังวลกับการคิดถึงอดีตที่แก้ไขไม่ได้ หรือนึกถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่ทันเกิดขึ้น คุณแม่จึงควรเรียนรู้หลักการในการขจัดความกังวลนั้นๆ
ความรู้สึกของผู้ที่เริ่มตั้งครรภ์ มีทั้งดีใจ สมหวัง หลายคนรู้สึกวิตกกังวลกับการคิดถึงอดีตที่แก้ไขไม่ได้ หรือนึกถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่ทันเกิดขึ้น คุณแม่จึงควรเรียนรู้หลักการในการขจัดความกังวลนั้นๆ
- ทำความเข้าใจกับเรื่องที่กังวลอยู่
เมื่อเข้าใจข้อเท็จจริงแล้วความกังวลจะลดน้อยลง เรื่องที่คุณแม่วิตกกังวล อาจเกิดจาก
1.1 ความกังวลต่อความพิการของลูกในครรภ์ โอกาสที่จะคลอดบุตรพิการมีน้อยมาก โดยเฉพาะหากคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไปแล้ว เพราะลูกที่พิการมักจะแท้งออกมาเองในช่วงอายุครรภ์ 2-3 เดือน
1.2 ความกังวลต่อรูปร่างคุณแม่ที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์ และเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วงสั้นๆ เพียง 9 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นคุณแม่ก็มีรูปร่างดีเช่นเดิม
1.3 ความกังวลต่อเพศบุตรที่จะเกิดขึ้น การที่ลูกน้อยเป็นเพศชายหรือเพศหญิงนั้น สเปิร์มจากคุณพ่อจะเป็นตัวกำหนด หากคุณพ่อให้สเปิร์มที่มีโครโมโซม X ลูกในครรภ์จะเป็นหญิง หากให้โรมโมโซม Y ลูกก็จะเป็นเพศชาย
- ฝึกความคิดให้อยู่กับปัจจุบัน หลักการคือ การฝึกให้ความคิดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ตลอดเวลา
ตื่นเช้าให้ลืมตา ไม่นอนคิดฟุ้งซ่าน คิดถึงสิ่งที่เป็นปัจจุบันกำลังทำอะไรอยู่ เมื่อจิตคิดไปถึงเรื่องที่กำลังกังวลอยู่ ก็ให้ดึงกลับมาสู่ปัจจุบันอีกครั้ง การกระทำเช่นนี้เป็นการฝึกคนมีสติต่องานที่กำลังทำอยู่ ช่วยให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก คุณพ่อมีส่วนอย่างมากในการช่วยปลอบโยน ให้กำลังใจ แสดงความเห็นใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ จิตใจของคุณแม่อาจมีผลต่ออารมณ์และนิสัยใจคอของลูกน้อยในครรภ์ด้วย
** ดังนั้น การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น การดูแลทางด้านร่างกาย การดูแลความพร้อมทางด้านจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำไปสู่การเลี้ยงดูลูกได้อย่างมีคุณภาพ และคุณพ่อคุณแม่เอง ก็จะมีความสุขที่ได้ชื่นชมการเติบโตของลูกน้อยด้วย