เชื้อเอชไพโลไร…แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร !!! (H. pylori)

19 March 2025 | 作者 โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดทำให้สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารได้เป็นเวลานานหลายสิบปี แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร



เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. pylori) คืออะไร ?

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดทำให้สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารได้เป็นเวลานานหลายสิบปี แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดความผิดปกติของกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรติดต่อได้อย่างไร ?

เชื่อว่าเชื้อแบคทีเรียนี้สามารติดต่อผ่านการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง เช่น ทางปากสู่ปาก หรือการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ การอาศัยร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไพโลไรเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

ผู้ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรมีอาการอย่างไร ?

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายอาจมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารจนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ปวดท้องเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ มักปวดบริเวณท้องส่วนบน อาการปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังรับประทานอาหาร
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือสีน้ำตาลคล้ำ อุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น

 

ใครบ้างควรตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ?

 

  1. ผู้ที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหาร
  2. ผู้ที่พบรอยโรคในกระเพาะอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
  3. บุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  4. ผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยาแก้ปวดหรือยากลุ่ม NSAID เป็นประจำ

 

การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรทำอย่างไร ?

การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

 

  • การตรวจลมหายใจด้วยวิธี Urea Breath Test โดยให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายที่มียูเรีย จากนั้นวิเคราะห์ลมหายใจตรวจหาปริมาณแอมโมเนียที่เพิ่มขึ้น หากพบว่ามีปริมาณแอมโมเนียเพิ่มมากขึ้นแสดงว่ามีเชื้อเอชไพโลไรในทางเดินอาหาร
  • การตรวจโดยการส่องกล้องทางเดินอาหาร ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อบุกระเพาะอาหารมาตรวจหาการติดเชื้อหรือตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจแอนติเจนในอุจจาระ เป็นการเก็บอุจจาระเพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไพโลไรในอุจจาระ ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อ
  • การตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไพโลไรในเลือด ยืนยันการสัมผัสเชื้อได้ แต่ไม่สามารถแยกระหว่างการติดเชื้อในปัจจุบันหรือการติดเชื้อในอดีต

 

การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรรักษาอย่างไร ?

เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรสามารรักษาได้โดยการใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ โดยรับประทานยาต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

 

หลังการรักษาผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำโดยอาจใช้วิธีการตรวจลมหายใจเพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาซ้ำโดยการปรับเปลี่ยนยา

SHARE
推荐项目

แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy) LA
价格
13,900 ฿
แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) TIVA
价格
27,000 ฿
แพ็กเกจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
价格
15,500 ฿