อาการปวดศีรษะ เป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่ตัวโรคเอง มีโรคอยู่หลายอย่างตั้งแต่โรคที่เป็นอันตรายรุนแรง อย่างโรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด จะทราบได้อย่างไรว่าปวดศีรษะจากสาเหตุใด ?
อาการปวดศีรษะ เป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่ตัวโรคเอง มีโรคอยู่หลายอย่างตั้งแต่โรคที่เป็นอันตรายรุนแรง อย่างโรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด
จะทราบได้อย่างไรว่าปวดศีรษะจากสาเหตุใด ?
โดยทั่วไปเรามักแบ่งโรคปวดศีรษะ ออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่มีรอยโรคอยู่ในสมองและศีรษะจริง ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา โดยอาจเกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น โรคเนื้องอกในสมอง, หลอดเลือดสมองโป่งพอง, เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง, เลือดคั่งในสมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ไม่ได้มีรอยโรคในสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองเลย แต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเอง เช่น โรคไมเกรน, ปวดศีรษะจากความเครียด, ปวดศีรษะจากเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะจากเส้นประสาทใบหน้าอักเสบ
แล้วเราจะแยกได้อย่างไรล่ะครับว่าเราปวดศีรษะจากสาเหตุใน กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ?
อาการปวดศีรษะในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่มีรอยโรคในสมอง และมักเป็นอันตราย จะมีลักษณะ
อาการปวดศีรษะ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเช่น
- ปวดทันทีและรุนแรงมาก
- ปวดมากแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยในชีวิต
- ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ โดยไม่มีช่วงหายดีเลย
- ปวดแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยปวดมาเป็นประจำ
- ปวดรุนแรง พร้อมกับมีอาการคอแข็ง หรืออาเจียนมาก
- ปวด พร้อมกับมีอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ตามัว ซึมลง สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือหมดสติ
- ปวดเมื่อ ไอ จาม หรือ เบ่งถ่ายอุจจาระจะยิ่งทวีความปวดขึ้น
- ปวดครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 50ปี โดยไม่ได้มีโรคปวดหัวใด ๆ มาก่อน
ปัจจุบันเรื่องของการรักษาและเทคโนโลยี เป็นอย่างไรบ้าง
การตรวจเหล่านี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้เลือกให้เหมาะสมกับอาการของโรคที่เราสงสัย และลักษณะของผู้ป่วย
เช่น ถ้าสงสัยภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเส้นโลหิตในสมองแตก ควรตรวจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉิน เครื่องนี้จะตรวจได้ไว และไม่จำเป็นต้องเตรียมการตรวจซับซ้อน ถ้าสงสัยหลอดเลือดขอดในสมอง, เนื้องอกในสมอง อาจต้องทำการตรวจด้วย เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดย MRI-Scan หรือ MRA-Scan เพื่อดูอย่างละเอียดทั้งในส่วนของสมองและหลอดเลือด ถ้าสงสัยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเลือดออกซึมในขั้นเยื่อหุ้มสมอง นอกจากการตรวจ CT-Scan หรือ MRI-Scan แล้ว แพทย์จำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดต่อไป
หากมีอาการปวดที่ชวนสงสัยโรคทางสมองที่กล่าวมาแล้ว ควรรีบพบแพทย์ หรือหากมีอาการไม่เหมือนข้อใดเลย แล้วรักษาไม่หาย ปวดศีรษะอยู่นาน ก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากการกินยา อย่าลืมว่าโรคปวดศีรษะต้องรักษาที่ต้นเหตุของโรค