ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง
โรคต้อหิน Glaucoma
ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง
กลไกลการเกิดต้อหิน ในลูกตาส่วนหน้ามีการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (Aqueous Humor) ซึ่งถูกสร้างจากอวัยวะในลูกตาที่เรียกว่า Ciliary Body ไหลเวียนผ่านช่องระหว่างม่านตาและเลนส์ตาสู่ช่องหน้าลูกตาและไหลเวียนออกจากลูกตาทาง Trabecular Meshwork (ทางระบายออกของน้ำในลูกตาอยู่ที่มุมตา มีลักษณะเป็นตะแกรง) ซึ่งในโรคต้อหินจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและเกิดการทำลายเส้นประสาทตาตามมา
ความดันตากับต้อหิน
ความดันตา หมายถึง ความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในลูกตาโดยทั่วไปค่าความดันตาอยู่ที่ 5 – 21 มิลลิเมตรปรอท หากพบความดันตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นภาวะความดันตาสูงและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน
ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน
- เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกัน ,อเมริกาจะพบว่าต้อนหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชีย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
- ตรวจพบความดันตาสูง
- เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
- การใช้ยาสเตียรอยด์
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง โรคเบาหวาน ไมเกรน
ประเภทของต้อหิน
- ต้อหินมุมปิด (Primary Open Angle Glaucoma) เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าต้อหินประเภทอื่น เกิดจากการอุดตันของ Trabecular Meshwork ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ จึงเกิดความดันตาสูงและส่งผลให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย
อาการ : ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากด้านข้างและนำไปสู่การตาบอดในที่สุด โดยทั่วไปต้อหินมุมเปิดมักควบคุมได้ด้วยยา หากได้รับการวิจัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก
- ต้อหินมุมเปิดที่มีความดันผิดปกติ (Normal – Tension Glaucoma) ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดต้อหิน ทั้งทีมีความดันตาต่ำกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท (แม้ความดันตาจะไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แต่มักพบว่าความดันตาอยู่ใกล้กับค่าเพดานบนของค่าปกติ) โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่
- มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินชนิดความดันตาปกติ
- เชื้อชาติญี่ปุ่น
- มีประวัติโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน นอนกรน หรือโรคระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด
- ต้อหินมุมปิด (Angle – Closure Glaucoma) ต้อหินประเภทนี้พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด เกิดจากการที่มุมตาถูกม่านตากั้นปิด ส่งผลให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ปกติ เกิดความดันตาสูงตามมา
อาการ : ต้อหินมุมปิดมีอาการแสดงได้แตกต่างกัน ดังนี้
- ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รักการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่มีความดันตาสูงอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ รวมถึงคลื่นไส้อาเจียน
- ต้อหินมุมปิดกึ่งเฉียบพลัน อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็นๆหายๆ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยค่อนข้างยาก หากไม่ได้รับ
- การตรวจตา
- ต้อหินมุมปิดเรื้อรัง มักไม่มีอาการในระยะแรก เนื่องจากการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจตาบอดในที่สุด
- ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital Glaucoma) เกิดในทารกหรือเด็กและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบได้น้อยแต่อาการมักค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะตาบอด
- ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary Glaucoma) ต้อหินกลุ่มนี้เกิดขึ้นโดยสาเหตุจากโรคตาอื่นๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอับเสบในลูกตา เนื้องอกในตา ต้อกระจกที่เป็นมากหรือเบาหวานขึ้นตามาก รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทั้งนี้การรักษาขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันตาสูง
- ภาวะสงสัยต้อหิน (Glaucoma Suspect) ในบางรายอาจพบประสาทตาหรือสานสายตาที่คล้ายคลึงกับคนเป็นโรคต้อหิน โดยมีความดันตาปกติ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด
การวินิจฉัยต้อหิน ประกอบด้วย
- การตรวจตาด้วย Slit-lamp Microscopy
- การตรวจวัดความดันลูกตา
- การตรวจลักษณะมุมตา
- การตรวจลักษณะของขั้วประสาทตา
- การตรวจสานสายตา
- การตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์ชั้นจอประสาทตา (OCT)
การรักษาต้อหิน
เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคที่เส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงมุ่งเน้นเพื่อการประคับประคอง เพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
- การรักษาด้วยยา มีเป้าหมายในการรักษา เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในระดับที่ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ซึ่งยาหยดเหล่านี้จะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น การรักษาด้วยยาจำเป็นต้องหยดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่งและแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา การดำเนินโรคและผลข้างเคียงจากยา
- การใช้เลเซอร์ โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับขนิดของต้อหินและระยะของโรค
- การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ ไม่สามารถควบคุมความดันตาหรืออาการของโรคได้