โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับกลุ่มคนวัยทำงานหรือบุคคลทั่วไป ที่มีความเครียด มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ต้องการคัดกรองความเสี่ยงในโรคต่างๆ หรือกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
รายการตรวจสุขภาพ 26 รายการ ดังนี้
- ตรวจร่างกายโดยแพทย์ตรวจสุขภาพ (PE)
- ตรวจสุขภาพสายตาด้วยกล้อง โดยจักษุแพทย์ (Eye)
- ตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยสูตินรีแพทย์ (OB-GYN)
- การวัดสายตาตามาตรฐาน (VA)
- ตรวจวัดลานสายตา
- ตรวจวัดความดันตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจหาภาวะการแข็งตัวและการอุดตันของเส้นเลือด (ABI)
- ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจฟิล์มใหญ่ (Chest X-ray)
- อัลตร้าซาวนด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง (U/S whole Abdomen)
- ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammogram with Ultrasound)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)
- ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Triglyceride)
- ตรวจระดับกรดยูริค เพื่อบ่งชี้โรคเก๊าท์ (Uric acid)
- ตรวจปัสสาวะ (Urine analysis)
- ตรวจหาวิตามิน D (Vitamin D Total)
- ตรวจอุจจาระ (Stool Exam)
- ตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Stool Occult blood)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
- ตรวจหามะเร็งปากมดลูก (Thin Prep & HPV DNA PCR)
ราคา 10,931 บาท
เพราะสุขภาพที่ดีเปรียบได้กับของขวัญที่มีค่าอันยิ่งใหญ่ หากขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ อาจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยและมีโรคร้ายแรงจนยากต่อการรักษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน หัวใจ หรือ ความดันโลหิตสูง ประกอบกับสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อุปนิสัยในการบริโภค ความเครียด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ได้มากขึ้น
การตรวจสุขภาพไม่ใช่เพียงการเจาะเลือดหรือเอกซเรย์แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการตรวจสุขภาพ คือ การพบแพทย์ ในการตรวจหากความผิดปกติ ตั้งแต่ก่อนมีอาการหรือก่อนที่โรคจะลุกลาม เพราะการรักษาโรคในระยะเริ่มต้นนั้นจะได้ผลดีกว่า
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- งดอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง (ดื่มน้ำเปล่าได้ในปริมาณที่ไม่มากกว่าปกติ)
- งดอาหาร และน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในกรณีที่มีการตรวจอัลตราซาวด์
- ควรสวมเสื้อที่สะดวกในการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- กรณีตรวจอุจจาระ (Stool Examination, Stool Occult Blood) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัวต์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ และวิตามินซีอย่างน้อย 3 วัน
- ในสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ หรือ การตรวจ Mammogram
- การตรวจภายในสตรี หรือ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันสุดท้ายอย่างน้อย 7 วัน
การเตรียมตัวก่อนตรวจ Mammogram
- ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงก่อนที่มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่หน้าอกคัดตึงและขยาย อาจช่วยให้เจ็บหน้าอกน้อยลงและถ่ายภาพเต้านมได้ดีขึ้น
- แนะนำให้ตรวจหลังมีประจำเดือน 7-10 วัน
- ผู้ที่มีการเสริมหน้าอกต้องแจ้งผู้ตรวจล่วงหน้าว่ามีการเสริมหน้าอก
- ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการถอดเปลี่ยนก่อนการเอกซเรย์บริเวณเต้านม
- ไม่ควรฉีดน้ำหอม ทาโลชั่น แป้ง หรือโรลออนใด ๆ บริเวณระหว่างช่องแขนลงไปจนหน้าอกก่อนตรวจแมมโมแกรม ซึ่งอาจทำให้เกิดความคาดเคลื่อนในการถ่ายภาพได้
- ในกรณีที่มีการตรวจแมมโมแกรมในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลแห่งใหม่ ควรมีการขอแฟ้มประวัติการตรวจแมมโมแกรมเดิมไปให้แห่งใหม่ เพื่อการเปรียบเทียบผลการตรวจที่แม่นยำ
** หญิงตั้งครรภ์หรือมีความเป็นไปได้ในการตั้งครรภ์อาจได้รับผลกระทบจากการตรวจแมมโมแกรม เนื่องจากขั้นตอนการตรวจที่ทำให้ร่างกายได้รับรังสี แม้ว่าระดับรังสีจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีโอกาสกระทบต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ จึงควรมีการแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ฉายรังสีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
คูปองนี้สามารถใช้ได้วันที่ 1 สิงหาคม 65 - 30 พฤศจิกายน 65