
การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น ได้แก่ การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ไม่ทำท่าทางหรืออิริยาบถที่ผิดปกตินานๆ เช่นก้มคอเขียนหนังสือนานๆ การนั่งกับพื้นหรือ นั่งโน้มตัวไปข้างหน้าบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือยกของด้วยท่าทางที่ถูกวิธี ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรู้จักบริหารกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง หากพบว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์
กระดูกสันหลังของคน เปรียบเหมือนกับเสาเข็ม ทำหน้าที่ รับน้ำหนักของเราตั้งแต่ศีรษะลงมา ดั้งนั้นเมื่อไรก็ตามที่เสาเข็มมีปัญหา ความมั่นคงแข็งแรงก็จะเสียไป ผลก็คือ กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆกระดูกสันหลัง จะเกิดการเกร็งตัวเพื่อรับน้ำหนัก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ในรายที่รุนแรงกล้ามเนื้อเกร็งมากก็จะปวดทรมานมาก
อาการปวดหลังมีได้จากหลายสาเหตุ นอกจากสาเหตุที่ตัวกล้ามเนื้อที่พบเป็นส่วนใหญ่แล้ว ความเสื่อมของกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ซึ่งนอกจากพบอาการปวดหลังแล้วยังพบอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนร่วมด้วย เช่น แขนชา ขาชา ปวดข้อ ปวดตามปลายนิ้วคล้ายไฟช๊อต เนื่องจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมทรุดหรือเคลื่อนตัวไปกดทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกสันหลัง มีรูปร่างเป็นวงกลมๆมีขอบเป็นพังผืดที่เหนียวและแข็งแรงประกอบด้วยเส้นใยที่ประสานกันเหมือนกับเส้นใยเหล็กหรือผ้าใบคล้ายยางรถยนต์ ภายในเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่เป็นสารถ่ายรับน้ำหนัก เปรียบได้กับลมยางในยางรถยนต์ เพื่อรับน้ำหนักบรรทุก รองรับแรงกระแทกและยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนไหว
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
มักพบในผู้ที่มีอายุยังไม่มาก พออายุเริ่มมากขึ้น หมอนรองกระดูก ก็จะเสื่อมสภาพลงไปตามลำดับ และหากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยก็จะมีสภาพคล้ายผู้สูงอายุ หมอนรองกระดูกจะเริ่มทรุดตัว และเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ ส่งผลให้มีอาการปวดร้าวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
การรักษาหมอนรองกระดูกเสื่อม
เบื้องต้นจะรักษาด้วยวิธีประคับประคองแต่หากมีอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องผ่าตัด ในปัจจุบันนอกจากการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกแล้ว มีเทคโนโลยีการรักษาที่เรียกว่า นิวคลีโอพลาสตี้ (Nucleoplasty) ซึ่งเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปในหมอนรองกระดูกบริเวณที่มีปัญหา แล้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ ทำให้เกิดความร้อนที่ปลายเข็ม ความร้อนนั้นจะไปสลายหมอนรองกระดูกที่เกินหรือยื่นออกมาไม่ให้กดทับเส้นประสาท ทำให้อาการปวดหลังหายไปโดยไม่ต้องผ่าตัด จะมีแผลขนาดเล็กเพียง 3 รู ที่เกิดจากการแทงเข็มเท่านั้น เป็นการรักษาโดยที่ไม่ต้องวางยาสลบ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว
สิ่งสำคัญ คือ การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น ได้แก่ การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ไม่ทำท่าทางหรืออิริยาบถที่ผิดปกตินานๆ เช่นก้มคอเขียนหนังสือนานๆ การนั่งกับพื้นหรือ นั่งโน้มตัวไปข้างหน้าบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือยกของด้วยท่าทางที่ถูกวิธี ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรู้จักบริหารกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง หากพบว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สมอง แผนกศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพบาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)