โรคภูมิแพ้ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงการเตรียมพร้อมตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์มีความสำคัญในการป้องกันภูมิแพ้ โดยมีข้อแนะนำ การปฏิบัติสำหรับช่วงตั้งครรภ์ ช่วงคลอด ช่วงหลังคลอด
โรคภูมิแพ้ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงการเตรียมพร้อมตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์มีความสำคัญในการป้องกันภูมิแพ้ โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
การปฏิบัติตัวในช่วงตั้งครรภ์
- คุณแม่ควรกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ อย่างสมดุล นั่นคือ ไม่กินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกิดกว่าที่เคยกินไปมาก เช่น นมวัว ถ้าปกติเคยดื่มนมเพียงวันละ 1-2 แห้ว ในขณะตั้งครรภ์ ก็ดื่มได้ในปริมาณเท่าเดิม ไม่แนะนำให้ดื่มเพิ่มจากปกติ เพราะอาจทำให้ลูกมีภาวะแพ้โปรตีนจากวัวได้
- ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่จะทให้เกิดอาการแพ้ง่าย เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว เพราะการงดอาหารจะทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร สุขภาพไม่แข็งแรงได้
- ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ
ช่วงคุณแม่คลอด
- การคลอดโดยวิธีธรรมชาติ จะช่วยให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้น้อยกว่าการผ่าตัด
ช่วงคุณแม่หลังคลอด
การกินอาหารในทารกที่เสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ ก็มีความสำคัญโดยมีข้อแนะนำดังนี้
-
- การกินนมแม่ อย่างน้อยนาน 4-6 เดือน
- การเริ่มอาหารเสริม เริ่มตั้งแต่อายุ 4 และ ก่อนอายุ 6 เดือน เริ่มอาหารใหม่ทีละชนิด ทุก 3-5 วัน ค่อยๆเพิ่มปริมารของอาหาร เริ่มด้วยข้าว ผัก ผลไม้แล้วจึงตามด้วยเนื้อสัตว์ที่เหมาะกับอายุ ถ้าเป็นไปได้ควรให้กิอาหารที่ทำเอง
- การเริ่มอาการที่มีโอกาสทำให้เกิดการแพ้ได้สูง ได้แก่นมวัว ถั่วเหลือง ไข่ แป้งสาลี ถั่วลิสง และถั่วเปลือกแข็งอื่นๆ ปลาและอาหารทะเลอื่นๆ ควรเริ่มหลังอายุ 4 เดือน-6เดือน หลังจากที่กินอาหารเสริมอื่นๆ ได้และไม่มีความผิดกติ ควรหยุดกิดอาหารนั้นทันทีถ้ามีอาการผิดปกติและปรึกษากุมารแพทย์ผู้ชำนาญการ
- ควรหลีกเลี่ยงการกิน Whole cow’s milk ในขวบปีแรกเนื่องจากมีผลต่อการทำงานของไต และมีธาติเหล็กต่ำ
- ถั่วที่เป็นเม็ดทั้งหลายควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอาจเกิดอันตรายในการสำลักเข้าหลอดลม
- อาหารทะเลอื่นๆ ยกเว้นปลา ควรเริ่มหลังอายุ 1 ปี
- การเสริมจุลินทรีย์สุขภาพให้คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอดในทารก มีประโยชน์ในการช่วยลดผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ได้