
ทารกแรกเกิด ร.พ.สินแพทย์ ได้รับการตรวจคัดกรอง
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคเอ๋อ
- การได้ยิน
- ภาวะตัวเหลือง
ทารกแรกเกิด จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและละเอียดอ่อน เพื่อการเริ่มต้นชีวิตที่สมบูรณ์ที่สุด
ในปัจจุบันทารกแรกเกิดทุกรายของ ร.พงสินแพทย์ จะได้รับการดูแล โดยกุมารแพทย์ทารกแรกเกิด (Neonatologist) และได้รับการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติ ของร่างกายในระบบต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับการดูแลทารกแรกเกิดของสหรัฐอเมริกา (New York State Newborn Screening Program) ดังต่อไปนี้
- ตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว (Cyanotic Cori genital Heart Disease Screening)
- ตรวจคัดกรองโรคเอ๋อ (ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน) (Hypothyroidism, Phenylketonuria)
- ตรวจคัดกรองการได้ยิน (Hearing Screening)
- การตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลือง (Neonatal Hyperbilirubinemia Screening)
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที โดยสถิติของการเกิดโรคนี้ ประมาณ 5-10 คน ต่อทารก 1000 คน
น.พ.ชาตรี เรืองฤทธิ์นำชัย กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในเด็ก ซึ่งเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลสินแพทย์ และคณะ ได้ใช้แทคนิคการวัดเปอร์เซนต์ออกซิเจนผ่านผิวหนังให้กับทารกแรกเกิดทุกราย เพื่อคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว มาตั้งแต่ปี 2547 พบผลผิดปกติ 3 ราย ซึ่งปัจจุบันได้รับการผ่าตัดรักษาจนปลอดภัยแล้ว และเทคนิคนี้ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในการประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก The First Asia-Pacific Congress of pediatric Cardiology and Cardiac Surgery (หัวใจเด็ก และ ศัลยกรรมหัวใจเด็ก ครั้งที่ 1) และผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารต่างประเทศ “IMAGES in Pediatric Cardiology”
วิธีการ
- วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด โดยการใช้เครื่อง Pulse Oximeter
- วันในขณะที่เด็กนอนหลับ โดยติดสายวัดที่มือ และเท้าของทารกข้างเดียวกัน เปรียบเทียบค่าที่ได้ ค่าปกติต้องมากกว่า หรือเท่ากับ 95% หากน้อยกว่า 95% อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจ Echo ดูลักษณะของหัวใจ
ข้อแนะนำ
- ผู้เลี้ยงดูควรสังเกตอาการที่ผิดปกติ ถ้าดูดนมได้ช้า ดูดนมแล้วหอบเหนื่อย เหนื่อยหอบง่าย เลี้ยงไม่โต หรือเติลโตช้า เขียวเวลาดูดนม ซึ่งเป็นอาการหนึ่งที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจ
โรคเอ๋อ
โรคเอ๋อ หรือ ภาวะปัญญาอ่อนจากการพร่องธัยรอยด์ฮอโมนแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ หรือการขาดสารไอโอดีนของมารดาในขระตั้งครรภ์ สำหรับประเทศไทยพบทารกที่เป็นโรคเอ๋อ 1 คนต่อทารก 4,000 คน ภาวะนี้ หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำให้พัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาล่าช้า เด็กที่ได้รับการรักษาภายใน 1 เดือน จะสามารถพัฒนาการได้ปกติตามวัย
วิธีการ
ในทารกที่มีอายุครบ 2 วัน หรือ วันก่อนกลับบ้าน จะมีการเจาะเลือดที่หลังมือใส่กระดาซับเลือด เพื่อส่งตรวจดูค่า TSH และ PKU กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข้อแนะนำ
- คุณพ่อคุณแม่ ควรให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดกับพยาบาล ก่อนกลับบ้าน เนื่องจากผลตรวจจะทราบหลังวันตรวจประมาณ 2-3 วัน
- กรณีผลเลือดผิดปกติ ทางโรงพยาบาลจะรีบโทรติดต่อผู้ปกครองให้พาเด็กหลับมาตรวจซ้ำ และรีบให้การรักษาโดยเร็วที่สุด
การได้ยินในทารกแรกเกิด
เพราะเด็กมีการเรียนรู้จากการฟัง เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางภาษาและการพูด หากเด็กไม่ได้ยินเสียงจะส่งผลให้พัฒนากการทางภาษาไม่เกิด หรือมีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก โดยพบอัตราการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด 1-3 คน ต่อทารก 1,000 คน และ 2-4 คน ต่อทารก 100 คน ที่มีปัจจัยเสี่ยง
วิธีการ
- ตรวจวัดการได้ยินในขณะที่เด็กหลับ โดยใส่ Headphone ในรูหูเด็กทีละข้าง แล้วปล่อยเสียง Click ในระดับความดังที่ไม่เป็นอันตรายต่อหู และไม่รบกวนการนอนของเด็ก เครื่องจะแปลผลการได้ยินและทราบผลการตรวจทันที เป็นการตรวจวัดที่แม่นยำ และเชื่อถือได้
ข้อแนะนำ
หากพบมีความผิดปกติในการได้ยิน ตั้งแต่แรกเกิด เด็กควรได้รับการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ และที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยสังเกตพัฒนาการเด็กตามวัยอยู่เสมอ
ภาวะตัวเหลือง
ภาวะตัวเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน เกิดจากทารกแรกเกิดไม่สามารถกำจัดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลลิลูบิน (Bilirubin) ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพทารกทุกคนจะพบมีอาการตัวเหลือง ไม่มากก็น้อยในช่วงอาทิตย์แรก แต่จะเหลืองมากที่สุดในช่วงวันที่สี่ ซึ่งสารนี้หากมีระดับที่สูงมากจะซึมเข้าไปในสมองของทารกทำลายเซลล์ประสาท ทำให้เกิดความพิการ ปัญญาอ่อนได้
วิธีการ
ด้วยเทคโนโลยีของเครื่อง Bilirubinometer จึงสามารถทำการตรวจวัดระดับบิลลิลูบินได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด มีความแม่นยำสูง และทารกไม่ต้องเจ็บตัว โดยใช้เครื่องมือนี้แนบกับผิวหนังของทารกบริเวณกลางหน้าอก หรือกลางหน้าผาก แล้วปล่อยแสงคล้ายแฟลชของกล้องถ่ายรูป 1-3 ครั้ง ทราบผลการตรวจได้ทันที ในกรณีที่พบความผิดปกติ อาจต้องมีการตรวจเลือดเพื่อยืนยัน
ข้อแนะนำ
- คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูทารกต้องฝึกสังเกตุอาการตัวเหลืองเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยสังเกตในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ หรือให้ทารกอยู่บนผ้าสีขาว ลูกตื่น ลืมตา อาจใช้วิธีรีดไล่เลือดที่ฝ่าเท้า ตามที่ได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์หากพบทารกมีอาการตัวเหลืองควรรีบพาไปพบแพทย์