โลกของ ดาวน์ซินโดรม (down syndrome)
“ดาวน์ซินโดรม” เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่พบบ่อยที่สุด โดยเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะมีโครงสร้างทางใบหน้าที่โดดเด่นชัดเจน อารมณ์ดี ร่างเริง และเลี้ยงง่าย พัฒนาการทั่วๆ ไปอาจมีความล่าช้ากว่าเด็กปกติ และในเด็กบางคนสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
- แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
- แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
- ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
อาการแสดงดาวน์ซินโดรม
เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะมีลักษณะภายนอกและพัฒนาการที่แตกต่างจากเด็กปกติ มีโครงสร้างทางใบหน้าที่โดดเด่นชัดเจน อย่างคล้ายคลึงกัน และมักมีอาการแสดงต่างๆ ดังนี้
- ศรีษะ ใบหน้า และหู เล็กกว่าเด็กทั่วไป
- ตาเรียว หางตาเฉียงขึ้น
- ลิ้นมักจุกอยู่ที่ปาก พูดช้า พูดไม่ชัด
- ตัวเล็ก และเตี้ยวกว่าคนปกติทั่วไป
- ตัวค่อยข้างนิ่ม หรืออ่อนปวกเปียก
- นิสัยร่าเริ่ง ยิ้มง่าย ใจดี
ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม
ปัจจัยเสี่ยงของการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมีเท่ากันทุกคน แต่อัตราความเสี่ยงจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่มีอายุเกิน 35 ปี
- คุณพ่อคุณแม่เด็กมีพาหะของดาวน์ซินโดรมหรือไม่?
- มีประวัติลูกคนแรกเป็นดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงที่ลูกคนถัดมาจะเป็นดาวน์ซินโดรมก็มีสูงเช่นกัน
ดาวน์ซินโดรม ตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด
ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้คุณแม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า ลูกของเรานั้นมีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีต่างๆ ได้แก่ การตรวจเลือด การเจาะน้ำคร่ำ การตรวจยืนยันโครโมโซม ซึ่งหากพบความผิดปกติก่อนคลอด คุณพ่อคุณแม่จะได้สามารถวางแผนการดูแลร่วมกับแพทย์ก่อนคลอดได้ โลกของเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้น ต้องการความรักความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคุณพ่อคุณแม่ และคนรอบข้าง ดาวน์ซินโดรมไม่ใช่อาการที่น่ารังเกียจ แต่อย่างใด แม้ว่าเราจะไม่สามารถรักษาอาการนี้ให้หายขาดได้ แต่เราสามารถสร้างโลกใบนี้ที่มีความสุขให้กับเขาได้