โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (flesh-eating disease หรือ necrotizing fasciitis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่หลุดลอดผ่านเข้าชั้นผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น รอยถูกแมลงกัด รอยแกะเกา รอยถูกของมีคม หรือ รอยกระทบกระแทก ฟกช้ำต่าง ๆ จากนั้นแบคทีเรียจะเกาะกลุ่มกันเติบโต ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบ ๆ และหากแบคทีเรียมีพิษมากจะยิ่งทำให้การอักเสบลุกลามได้เร็วและเป็นวงกว้าง จนเกิดเนื้อตายขึ้น ซึ่งหากแบคทีเรียลงไปชั้นใต้ผิวหนังได้กว้างและลึกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายได้มากขึ้นเท่านั้น อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
นั่นก็คือ โรคแบคทีเรียกินเนื้อ “flesh-eating disease” เรามารู้จักกับโรคนี้กันว่าคือโรคอะไรกันแน่…
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (flesh-eating disease หรือ necrotizing fasciitis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่หลุดลอดผ่านเข้าชั้นผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น รอยถูกแมลงกัด รอยแกะเกา รอยถูกของมีคม หรือ รอยกระทบกระแทก ฟกช้ำต่าง ๆ จากนั้นแบคทีเรียจะเกาะกลุ่มกันเติบโต ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบ ๆ และหากแบคทีเรียมีพิษมากจะยิ่งทำให้การอักเสบลุกลามได้เร็วและเป็นวงกว้าง จนเกิดเนื้อตายขึ้น ซึ่งหากแบคทีเรียลงไปชั้นใต้ผิวหนังได้กว้างและลึกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายได้มากขึ้นเท่านั้น อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้บ่อยๆ ในคนทั่วไป ได้แก่ Staphylococcus aureus ซึ่งอุณหภูมิที่เชื้อตัวนี้เจริญเติบไตได้ดี คือ ประมาณ 15 – 45 องศาเซลเซียส จึงพบได้บนร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะบนผิวหนัง โพรงจมูก เยื่อบุทางเดินหายใจ และพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปด้วย
การรักษา
โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาหนองและเนื้อตายบริเวณที่มีการติดเชื้อออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ ยิ่งได้รับการรักษารวดเร็วเท่าไร ผลการรักษายิ่งดีขึ้นเท่านั้น
มีวิธีป้องกันโรคนี้อย่างไร ?
โรคนี้ป้องกันได้โดย การป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีบาดแผล ถ้าผิวหนังมีบาดแผลเกิดขึ้นควรรีบทำความสะอาด และถ้าแผลมีอาการบวมแดงอักเสบควรรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
แมลงกินเนื้อคน จริงหรือไม่ ?
แมลงไม่ได้เป็นพาหะของแบคทีเรียชนิดนี้ แต่เมื่อถูกแมลงกัด ทำให้ผิวหนังมีรอยแผลเล็ก ๆ รวมถึงอาการคัน ทำให้เกาและมีแผลถลอกมากขึ้น เป็นเหตุให้แบคทีเรียหลุดลอดผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปก่อโรคได้