เมื่อเป็น”โรคตาแห้ง”แล้วต้องทำยังไง…ตอนที่ 2

15 ธ.ค. 2563 | เขียนโดย ผศ.พญ.ผกานาฏ เอี่ยมตระกูล

การรักษาตาแห้ง ตอนที่ 2

1.เพิ่มน้ำหล่อลื่นให้ผิวตาทั้งกระจกตาและเยื่อบุตาที่เสียดสีกันในขณะกระพริบตาน้ำตาเทียม มีความหนืดและส่วนประกอบต่างกัน เลือกใช้ตามจุดประสงค์ของผู้ใช้ (ควรปรึกษาจักษุแพทย์)

2.ยาหยอดรักษาการอักเสบและยาหยอดเพื่อกระตุ้นการผลิตของน้ำตา (ควรปรึกษาจักษุแพทย์)

3.การประคบอุ่นและนวดต่อมไขมันรอบเปลือกตา (lid treatment or lid hygiene with meibomiam gland massage)

ในกรณีตรวจพบว่าต่อมไขมันรอบตาทำงานผิดปกติและมีการอุดตัน ซึ่งจะนำพาไปสู่การอักเสบติดเชื้อที่เปลือกตา ควรประคบอุ่นและนวดต่อมไขมันที่เปลือกตาโดยอาจทำเองที่บ้านหรือรับการสาธิตและรักษาโดยจักษุแพทย์

4.การอุดท่อน้ำตา เพื่อลดการระบายของน้ำตาให้น้ำตาค้างอยู่ที่ผิวเยื่อบุตาและกระจกตานานขึ้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการพึ่งพาการหยอดน้ำตาเทียม

ปัจจุบันมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้อุดท่อน้ำตาชั่วคราว เป็นการทดสอบเบื้องต้นว่าการอุดท่อน้ำตาจะได้ผลในผู้ป่วยรายนั้นๆหรือไม่ โดยวัสดุสามารถสลายได้เองภายในเวลาประมาณสัปดาห์ หากได้ผลจึงใช้วัสดุอุปกรณ์อุดแบบถาวร

5.การรักษาโดยใช้แสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ (Intense pulsed light) เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันรอบตา ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของน้ำตา ทำให้น้ำตาระเหยเป็นปกติไม่แห้งเร็ว เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ใช้เวลาเพียง 10-15นาที (ควรปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ)

ในผู้ป่วยบางราย ต้องใช้ทุกวิธีร่วมกัน และต้องดูแลสุขภาพของเปลือกตาอย่างต่อเนื่อง

 


 

สอบถามเพิ่มเติมที่ได้ที่ 02-006-8888

สนใจปรึกษาแพทย์สาขาใกล้บ้านคุณ

 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

#โรงพยาบาลสินแพทย์ศรีนครินทร์

SHARE