การตรวจด้วยวิธี pH monitoring ดีกว่าวิธีเดิมๆ อย่างไรการตรวจด้วยวิธีเดิม ไม่ว่าจะเป็นการกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องสามารถดูได้เพียงว่ามีการบาดเจ็บ หรือมีแผลอักเสบที่หลอดอาหาร แต่ไม่สามารถบอกถึงปริมาณกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาได้ การตรวจด้วยวิธีใหม่นี้จะเป็นการตรวจวัดปริมาณกรดในหลอดอาหารได้โดยตรง pH monitoring เทคโนโลยีตรวจ กรดไหลย้อน ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา
การตรวจด้วยวิธี pH monitoring ดีกว่าวิธีเดิมๆ อย่างไร
การตรวจด้วยวิธีเดิม ไม่ว่าจะเป็นการกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องสามารถดูได้เพียงว่ามีการบาดเจ็บ หรือมีแผลอักเสบ
ที่หลอดอาหาร แต่ไม่สามารถบอกถึงปริมาณกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาได้ การตรวจด้วยวิธีใหม่นี้จะเป็นการตรวจวัดปริมาณกรดในหลอดอาหารได้โดยตรง
ใครบ้างที่ควรตรวจวัดกรดไหลย้อน
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน กินยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ที่หยุดยาแล้วมีอาการกำเริบ
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ที่มีอายุน้อย ไม่อยากกินยาต่อเนื่องนานๆ
- ผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก คล้ายเป็นโรคหัวใจ แต่ตรวจหาสาเหตุของโรคหัวใจแล้วไม่ได้เป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง เหมือนมีก้อนที่คอ มีอาการแสบคอ ผ่านการตรวจจากแพทย์ หู คอ จมูก แล้วไม่พบความผิดปกติ
- ผู้ที่ส่องกล้องแล้วพบว่า ปลายหลอดอาหารมีการอักเสบที่รุนแรง
พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมทางเดินอาหารและตับ
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)