เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ ดีจริงไหม ผู้ป่วยโรคไตทานได้หรือเปล่า ?

17 พ.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลสินแพทย์

ในปัจจุบันนี้ที่เทรนด์สุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง คนให้ความสนใจไม่ใช่เพียงรูปร่าง แต่เป็นสุขภาพโดยรวมของตัวเองด้วย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ที่พยายามจะตอบโจทย์ผู้ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเอง อย่างเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่เรารู้กันดีว่ามักมีโซเดียมอยู่ในปริมาณมาก หากทานบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เกิดเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำออกมาวางขายตามท้องตลาด ทำให้หลาย ๆ คนให้ความสนใจ และคิดว่าเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดี แต่ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะกับทุกคนจริงหรือเปล่า ? หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้ว สามารถทานได้หรือไม่ ?



ในปัจจุบันนี้ที่เทรนด์สุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง คนให้ความสนใจไม่ใช่เพียงรูปร่าง แต่เป็นสุขภาพโดยรวมของตัวเองด้วย ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ที่พยายามจะตอบโจทย์ผู้ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเอง อย่างเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่เรารู้กันดีว่ามักมีโซเดียมอยู่ในปริมาณมาก หากทานบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เกิดเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำออกมาวางขายตามท้องตลาด ทำให้หลาย ๆ คนให้ความสนใจ และคิดว่าเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดี แต่ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะกับทุกคนจริงหรือเปล่า ? หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้ว สามารถทานได้หรือไม่ ?

 

โซเดียม คืออะไร ?

โซเดียม คือเกลือแร่ชนิดหนึ่ง เป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำ และของเหลวภายในร่างกาย ช่วยรักษาความดันโลหิต รวมถึงช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางชนิด ใน 1 วัน สามารถบริโภคโซเดียมโดยไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ประมาณ 2,000 มิลลิกรัม การรับประทานโซเดียมมากเกินไป จะส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตเสื่อมสภาพลง ประสิทธิภาพในการกรอง และขจัดของเสียจากร่างกายทำได้น้อยลง เกิดเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด

 

เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ ทำจากอะไร?

โดยทั่วไปแล้ว การหมักเครื่องปรุงต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องใช้เกลือเป็นส่วนผสม สำหรับเครื่องปรุงโซเดียมต่ำก็จะมีกรรมวิธีที่เหมือนกัน เพียงแต่เกลือ หรือ โซเดียมนั้น จะถูกกำจัดออกไปบางส่วนหลังเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้ว เช่น ลดโซเดียมลง 40% และผู้ผลิตบางรายอาจใส่เกลือโพแทสเซียม หรือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chloride) เข้ามาให้ความเค็มทดแทน เพื่อคงกลิ่นรสดั้งเดิมของเครื่องปรุงไว้ให้ได้มากที่สุด

 

ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานเครื่องปรุงโซเดียมต่ำได้ไหม ?

แม้ว่าเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่ปรับลดปริมาณโซเดียมจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ยังเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง โดยเฉพาะเครื่องปรุงที่ใช้เกลือโพแทสเซียมเข้ามาทดแทน เพราะไตก็ยังคงต้องทำงานหนัก เพื่อกำจัดโพแทสเซียมคลอไรด์ออกจากร่างกายด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไต ควรหาซื้อเครื่องปรุงที่ลดโซเดียม โดยไม่มีการเติมโพแทสเซียมคลอไรด์เข้ามาทดแทนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถึงจะลดปริมาณโซเดียม ก็ยังคงมีโซเดียมหลงเหลืออยู่ ดังนั้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสม และปริมาณที่สามารถทานได้ในแต่ละวัน

 

เพื่อสุขภาพไตที่ดี ควรควบคุมปริมาณโซเดียมที่รับประทานในแต่ละวันให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพไตเป็นประจำ ก็จะช่วยให้เรารู้ถึงความเสี่ยงของโรค เพื่อที่จะได้รับมือป้องกัน และรักษาอย่างทันท่วงที

 

ไต

ตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพโรคไตเบื้องต้น พร้อมโปรโมชันพิเศษ คลิก https://bit.ly/3ofXs1P

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคไต ศูนย์โรคไต ศูนย์ไตเทียมสาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

 

SHARE