อันตรายจาก… โรคอ้วน!!

23 ก.ค. 2563 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ผลตามมาของโรคอ้วนความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทรกลีเซอไรด์โรคไขมันพอกผนังเส้นโลหิต และหัวใจขาดเลือดความผิดปกติของน้ำตาลในเลือดข้อเสื่อมอืดอาดเหนื่อยง่ายหอบหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ (Sleep Apnea)ไขมันพอกตับนิ่วในถุงน้ำดีเส้นเลือดขอดแผลเรื้อรังที่ขาโลหิตคั่งแข็งตัวอุดเส้นเลือดดำโลหิตคั่งแข็งตัวอุดเส้นเลือดในปอดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นหลอดอาหารไส้เลื่อนปัสสาวะราดในผู้หญิงประจำเดือนไม่มามีบุตรยาก (ในผู้หญิง)มะเร็งของเยื่อบุมดลูกมะเร็งของเต้านมผิวหนังชื้นแฉะ เป็นฝีง่ายตามข้อพับประสบอุบัติเหตุง่ายมีปัญหาทางเศรษฐกิจและจิตใจ



ภาวะอ้วนทำให้เกิดโรค และความผิดปกติต่างๆ ได้มาก หรือเร็วกว่าคนไม่อ้วน ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง : พบว่าถ้าลดน้ำหนักโดยยังมีปริมาณเกลือในอาหารเท่าเดิมก็ลดความดันโลหิตลงได้
  2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งพาอินซูลิน : ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดนี้ที่รุนแรงสุดกว่าปัจจัยใดๆ
  3. ไขมันในเลือดผิดปกติ
  4. โรคหลอดเลือดตีบ (Atherosclerosis) : เช่น หลอดเลือดสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยพบว่าความอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้โดยตรง และยังเพิ่มความเสี่ยงโดยอ้อมจากภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงด้วย
  5. นิ่วถุงน้ำดี และถุงน้ำดีอักเสบ
  6. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) : โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสะโพก ข้อเข่า และยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคข้ออักเสบจากเก๊าท์ด้วย
  7. มะเร็งบางชนิด : พบมากขึ้นในคนอ้วน และสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้อ้วน จากการศึกษาของ American Cancer Society โดยอิงน้ำหนักที่คนไข้บอกเองพบว่าถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 40% จะมีอัตรารายจากมะเร็งสูงขึ้น 33-1.55 เท่า ที่สำคัญ คือ มะเร็งเยื่อบุมดลูกเต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่

 

เมตาโบลิกซินโดรมหรือซินโดรมเอ็กซ์(Metabolic Syndrome)

หรือโรคอ้วนลงพุง เป็นอาการของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระบวนการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายนั่นเอง เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง โรคความจำเสื่อม ฯลฯ

เกณฑ์การตัดสินว่าคุณเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่คือ

เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน(ผู้ชายมากกว่า 90 เซนติเมตร ผู้หญิงมากกว่า 80 เซนติเมตร) ความดันโลหิตมีค่ามากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท มีไขมันดี(HDL คอลเรสเตอรอล) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย และ น้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้นคือ ตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป

เมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome)อาจเรียกอีกอย่างว่า อาการดื้อต่ออินซูลิน

ฮอร์โมนอินซูลินคือตัวที่นำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการย่อยอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ถ้าร่างกายดื้อต่ออินซูลินจะทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสะสมและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้การดื้อต่ออินซูลินยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบอีกด้วย แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนก็ตาม

 

การป้องกันและรักษาเมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) หรือ โรคอ้วนลงพุง

ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัวและช่วยให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที โดยการเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิค การควบคุมคุณภาพและปริมาณของคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคอ้วนลงพุง พลังงานประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์จากคาร์โบไฮเดรตควรมาจากธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ พลังงานอีก 40 เปอร์เซนต์ควรได้จากไขมันดีจากปลาและพืชเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา พลังงานที่เหลืออีก 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ควรมาจากโปรตีนไขมันต่ำ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

 

เมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) หรือ โรคอ้วนลงพุง

เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายเช่นโรคเบาหวาน มะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ก็สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ด้วยการควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต ออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้

 

ผลตามมาของโรคอ้วน

  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทรกลีเซอไรด์
  • โรคไขมันพอกผนังเส้นโลหิต และหัวใจขาดเลือด
  • ความผิดปกติของน้ำตาลในเลือด
  • ข้อเสื่อม
  • อืดอาด
  • เหนื่อยง่าย
  • หอบ
  • หยุดหายใจระหว่างนอนหลับ (Sleep Apnea)
  • ไขมันพอกตับ
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • เส้นเลือดขอด
  • แผลเรื้อรังที่ขา
  • โลหิตคั่งแข็งตัวอุดเส้นเลือดดำ
  • โลหิตคั่งแข็งตัวอุดเส้นเลือดในปอด
  • น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นหลอดอาหาร
  • ไส้เลื่อน
  • ปัสสาวะราดในผู้หญิง
  • ประจำเดือนไม่มา
  • มีบุตรยาก (ในผู้หญิง)
  • มะเร็งของเยื่อบุมดลูก
  • มะเร็งของเต้านม
  • ผิวหนังชื้นแฉะ เป็นฝีง่ายตามข้อพับ
  • ประสบอุบัติเหตุง่าย
  • มีปัญหาทางเศรษฐกิจและจิตใจ

 

หลักการออกกำลังกายของคนอ้วนมีดังนี้

  1. ถ้าใช้วิธีออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญแคลอรี่ให้ได้ผลจะต้องฝึกให้ใช้พลังงานวันละ 500 แคลอรี่ (เช่น วิ่งเหยาะติดต่อกัน 30-45 นาที , เต้นแอโรบิคแดนซ์ 45 นาที, เล่นฟุตบอล 60 นาที, ว่ายน้ำ 30 นาที) จะสามารถลดน้ำหนักได้สัปดาห์ละประมาณ ครึ่งกิโลกรัม
  2. ถ้าใช้วิธีออกกำลังกายควบคู่กับการจำกัดอาหารควรฝึกออกกำลังกายที่ใช้พลังงานวันละ 250 แคลอรี่ (วิ่งเหยาะประมาณ 15 นาที , แอโรบิคแดนซ์ 25-30 นาที, ว่ายน้ำ 12-15 นาที, เดินเร็ว 45 นาที) และตัดพลังงานออกจากอาหารวันละ 250 แคลอรี่
  3. การออกกำลังกายควรใช้กล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ได้แก่ บริเวณลำตัว, แขน, ขา และหลัง
  4. การออกกำลังกายที่จะเผาผลาญไขมันได้แท้จริงต้องออกกำลังกายเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไป เช่น วิ่งมาราธอน ดังนั้นการออกกำลังกายใด ๆ ที่อ้างว่าละลายไขมันจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะไขมันจะถูกเผาผลาญต้องเป็นไปตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในร่างกาย การใช้เครื่องปั่นตะโพก,สายรัดหน้าท้อง, แผ่นยางร้อนวางไว้ที่หน้าท้อง การบริหารกายเฉพาะส่วน เช่น ลุก-นั่ง (ซิต-อัพ) จึงไม่มีผลในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งถ้าจะใช้วิธีการออกกำลังกายในลักษณะนี้คนอ้วนทั่วไปจะทำไม่ได้ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามสูง และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอันเป็นผลมาจากความไม่เคยชินกับสภาพการฝึกหนักเช่นนี้
  5. ควรปรับวิถีชีวิตให้เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว เดินแทนการใช้รถยนต์หรือลิฟต์ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารควรได้เดินยืดเส้นยืดสายเพื่อช่วยสร้างนิสัยให้เป็นคนคล่องตัว, กระฉับกระเฉง
  6. การออกกำลังสำหรับคนอ้วนต้องระวังการกระแทกหรือการกระโดด ซึ่งจะทำให้ข้อเข่าอักเสบเพราะทานแรงกดของน้ำหนักตัวที่กดลงมาตรงข้อเข่าไม่ได้ กระโดดเชือกจึงไม่เหมาะสำหรับคนอ้วน
  7. การออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับคนอ้วนที่เริ่มต้นออกกำลังกายหรือจะใช้ตลอดไปก็คือ การเดินทุกวัน วันละ 30 นาทีติดต่อกัน เดินในลักษณะเดินเร็ว แกว่งแขนให้สลับกับเท้าที่ก้าวเดิน สาวเท้ายาว เหวี่ยงแขนสูง จะเดินช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ ถ้าเป็นเวลาเดียวกันทุกวันจะสร้างนิสัยความเคยชินให้กับร่างกายได้ดีกว่าการเดินตามสะดวกใจ และควรบรรจุการเดินเร็ววันละ 30 นาที ให้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของชีวิต ฝึกให้ได้ทุกวันจนทำเป็นอัตโนมัติ โดยอาจเปิดเพลงประกอบ ฟังวิทยุชนิดที่เสียบหูฟังได้ (ซาวน์อเบาด์) เดินในสวนสาธารณะ เดินชายทะเล หรือเดินในบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เดินอย่างสุขใจ
  8. ถ้าเป็นการเล่นกีฬาควรอบอุ่นร่างกายก่อนเล่น 5 นาที ฝึก 20-25 นาที และผ่อนคลายอีก 5 นาที เช่นว่ายน้ำ แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส เทนนิส สค็อช ฝึกให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การเล่นกอล์ฟสัปดาห์ละ 1 ครั้งไม่ได้ผลดีต่อการลดน้ำหนัก เพราะขาดความต่อเนื่องในเรื่องความสม่ำเสมอของเวลา
  9. การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายถ้าเลือกได้หลากหลายวิธี วิธีที่ง่าย วิธีที่สะดวก ทำแล้วใจสบาย ฝึกแล้วได้ผลดีมีความก้าวหน้า ทำตามความถนัดและความสนใจจะเกิดแรงจูงใจให้ฝึกด้วยความสนุกสนานพึงพอใจและทำให้ฝึกได้ต่อเนื่อง ไม่เลิกหรือถอนตัวกลางคันเพราะเซ็งหรือเบื่อหน่ายไปเสียก่อน
  10. สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนอ้วนก่อนเข้าโปรแกรมออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ควรพบแพทย์ตรวจสุขภาพเพื่อทราบข้อจำกัดของตัวเอง จะได้ป้องกันและฝึกด้วยความปลอดภัย

 

Wellness Center โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ดูแลโดย…ทีมแพทย์เฉพาะทาง
เวชศาสตร์ชะลอวัยและพัฒนาสุขภาพ

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา   

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

SHARE