หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

10 มี.ค. 2566 | เขียนโดย รพ.สินแพทย์ เสรีรักษ์

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการที่เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามวัย พบได้หลากหลายตามตำแหน่งที่กดทับเส้นประสาท แต่ไม่จำเป็นจะต้องมีอาการในทุกคน



หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เป็นคำเรียกรวมของการนูน เคลื่อน หรือแตกของนิวเคลียสที่ออกมานอกส่วนของ annulus โดยมากมักจะออกมากดทับที่เส้นประสาทในโพรงประสาทที่เดิมมีพื้นที่จำกัดอยู่แล้วให้แคบมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมอาจจะเกิดได้จากการมีอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากกว่าปกติ การใช้งานผิดลักษณะ เช่นมีการก้มเงย ยกของหนัก บิดบริเวณกระดูกสันหลังซ้ำๆ  กรรมพันธุ์ หรือ จากการกระแทกอย่างรุนแรง

หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมีความสำคัญอย่างไร?

หมอนรองกระดูกเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยนิวเคลียส (nucleus) ซึ่งล้อมรอบด้วย เส้นเอ็น (annulus)

อาการหมอนรองกระดูก

อาการที่เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามวัย พบได้หลากหลายตามตำแหน่งที่กดทับเส้นประสาท แต่ไม่จำเป็นจะต้องมีอาการในทุกคน มีผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่อาจจะมีอาการแสดง เช่น ปวดร้าวลงขา ชา หรืออ่อนแรง หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

การตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย

X-Ray หรือ MRI จะช่วยให้วินิจฉัยได้ละเอียดมากขึ้น และช่วยแพทย์ในการประกอบการตัดสินใจในการรักษา

การรักษาภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท

เริ่มจากการให้พัก รับประทานยาลดปวด และทำกายภาพบำบัด หากยังมีอาการปวดอยู่จะมีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณช่องกระดูกสันหลัง

การรักษาโดยการผ่าตัดในปัจจุบัน จะเน้นในการผ่าตัดแผลเล็กขึ้น เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยรอบกระดูกสันหลัง ลดการปวดหลังผ่าตัด และเพื่อให้ผู้ป่วยพื้นฟูร่างกายได้รวดเร็ว

การผ่าตัดแผลเล็ก Minimal invasive surgery มีดังนี้

  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic discectomy)
  • การทำหัตถการโดยวิธีเจาะรูผ่านผิวหนังเพื่อผ่าตัด (Percutaneous procedure) เช่น Nucleoplasty, Discectomy and Annuloplasty
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องส่องเอนโดสโคป (Endoscopic procedure)

 

SHARE