ริดสีดวงทวาร..โรคที่ใครก็ไม่อยากเป็น

6 มี.ค. 2563 | เขียนโดย นพ.วันชัย ด่านวชิรา

ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่เกิดจากการคั่งของเลือดที่บริเวณก้นขณะถ่ายอุจจาระ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับได้ไม่ดี เส้นเลือดในรูทวารจึงโป่งพอง และเกิดเนื้อเยื่อยื่นยาวจนออกมานอกรูทวารได้ กว่าจะเกิดโรคนี้ ต้องใช้เวลานานในระยะเวลาเป็นเดือนๆ คนที่เป็นโรคนี้จึงมักพบอาการเหล่านี้มาก่อน

  • ถ่ายอุจจาระแข็งเป็นประจำ
  • ถ่ายอุจจาระยากต้องใช้แรงเบ่งมาก
  • มีพฤติกรรมนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ หรือนั่งอ่านหนังสือในห้องน้ำ
  • มีอาการท้องผูก (3 วันขึ้นไปถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง)

ริดสีดวงทวารรักษาได้

  1. รักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่ยังมีอาการไม่มาก แพทย์จะให้ยาช่วยเพิ่มไฟเบอร์ ยาบรรเทาปวดและยาระบาย
  2. รักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับกรณีที่เริ่มเป็นมาก ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ขนาดหรือ

จำนวนของริดสีดวง แต่ละวิธีมีความจำเป็นของการทำข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนี้

  • Rubber band ligation เป็นการใช้ยางชนิดพิเศษรัดหัวริดสีดวง สำหรับริดสีดวงที่มีขนาดเล็ก
  • Hemorrhoidectomy วิธีนี้จะเป็นการตัดเนื้อริดสีดวงออกแล้วจึงเย็บ จึงทำให้มีอาการปวดมากกว่าวิธี

อื่น มีโอกาสเกิดเลือดออกได้ และอาจเกิดแผลอักเสบติดเชื้อ แผลจะหายช้ากว่าวิธีอื่น นอกจากนี้ยังอาจเกิดการกลั้นอุจจาระไม่ได้ หากมีการตัดหรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อหูรูด

  • Staple hemorrhoidectomy คือการตัดริดสีดวงด้วยเครื่องตัดและเย็บอัตโนมัติ วิธีนี้ อาการปวดจะ

ค่อนข้างน้อย แต่มีโอกาสเลือดออก หลังผ่าตัดได้บ้าง

  • THD : Transanal Hemorrhoid Arterialigation วิธีนี้จะไม่มีการตัดเนื้อริดสีดวงเป็นเทคโนโลยีการ

เย็บเส้นเลือดที่ริดสีดวง โดยใช้เครื่องมือตรวจหาตำแหน่งเส้นเลือดก่อนเย็บ ทำให้เส้นเลือดถูกเย็บเรียบร้อย โอกาสเกิดเลือดออกจึงน้อยมาก ไม่มีแผลจากการตัดเนื้อเยื่อ จึงทำให้ปวดแผลน้อยกว่า ลดการติดเชื้อ และไม่เกิดอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ เพราะไม่มีการตัดเนื้อเยื่อใดๆ

วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคนี้ โควรดยการรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยให้มาก เพื่อช่วยในเรื่องการขับถ่าย ฝึกพฤติกรรมการขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ ไม่เบ่งถ่าย ไม่นั่งถ่ายอุจจาระนานๆ ถ่ายอุจจาระทุกวันไม่ควรให้เกิดอาการท้องผูกให้เป็นนิสัยไม่ปล่อยให้เกิดอาการท้องผูก

SHARE