หากเราดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน “ข้อเข่า” ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ เพราะโดยปกติอายุที่เพิ่มขึ้นก็เป็นเหตุให้ เข่าเสื่อมสภาพ อยู่แล้ว แต่หากมีการใช้งานข้อเข่าอย่างระมัดระวังในแต่ละวันเท่ากับช่วยถนอมให้ใช้งานได้นานขึ้น
หากเราดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน “ข้อเข่า” ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ เพราะโดยปกติอายุที่เพิ่มขึ้นก็เป็นเหตุให้ เข่าเสื่อมสภาพ อยู่แล้ว แต่หากมีการใช้งานข้อเข่าอย่างระมัดระวังในแต่ละวันเท่ากับช่วยถนอมให้ใช้งานได้นานขึ้น
สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าจะมีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิด ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่มากเกินไปในแต่ละวัน เช่น
- การนั่งในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ
- รวมทั้งการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า
- ภาวะกระดูกพรุนอันเนื่องมาจากความแข็งแรงของกระดูกลดลง
- ประกอบกับวัยที่เพิ่มขึ้นก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วกว่าปกติทั้งสิ้น
ข้อเข่า
จัดว่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักได้ประมาณ 3-4 เท่า ของน้ำหนักตัว หากมีน้ำหนักตัวมากก็จะส่งผลให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้
อาการข้อเข่าเสื่อม
มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งนอกจากจะทำให้ต้องทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดแล้ว บางรายก็ไม่สามารถเดินได้ ช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ หรือ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาทิ อาการซึมเศร้า โรคความดันโลหิต โรคเบาหวานและโรคหัวใจได้อีกด้วย
อาการแบบไหน ? สงสัยข้อเข่าเสื่อม
- ปวดมากเมื่อคุกเข่า นั่งพับเพียบ ลุกนั่ง ขึ้นลงบันได และอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
- เมื่อขยับข้อรู้สึกถึงการเสียดสี หรือมีเสียงในเข่าขณะเคลื่อนไหว
- มีอาการฝืดขัดข้อเข่า โดยเฉพาะตอนเช้าและเมื่อหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
- ข้อเข่าติด เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด
- เข่าบวมแดงหรือโต มีน้ำภายในข้อจากการอักเสบ
- กล้ามเนื้อขาลีบเล็กลงกว่าข้างปกติ
- เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นและเรื้อรัง จะพบข้อเข่าโก่ง หลวมหรือเบี้ยวผิดรูป
ใครบ้าง ? มีความเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม
- อายุมากขึ้น มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
- พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- น้ำหนักตัวมาก ดัชนีมวลกาย BMI มากกว่า 23
- ใช้ข้อเข่ามาก โดยเฉพาะการนั่งยองๆ พับเพียบ คุกเข่า
- เคยได้รับบาดเจ็บที่เข่า
- กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง
- เกิดจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์
การป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม
- ควบคุมน้ำหนักตัว เพราะเมื่อข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
- อย่าใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก การนั่งยองๆ ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบนานๆ หรือบ่อยครั้ง หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
- การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือกีฬาที่ใช้แรงปะทะ อาจทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมาก หรือเกิดการยืดหดของเข่าถี่เกินไป เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน
- หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดภาระของข้อเข่า
ในกรณีที่มีอาการ ปวดข้อเข่า
- ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ เพื่อดูว่าข้อเข่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด โดยยังต้องตรวจดูข้อ อื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อแยกสาเหตุของโรคที่อาจพบอาการคล้ายกัน เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาท์ ก่อนที่จะไปตรวจสภาพที่แท้จริงของกระดูกอ่อนด้วย
- การเอ็กซเรย์ข้อเข่าในท่ายืน จากภาพเอ็กซเรย์หากพบว่าช่องว่างภายในแคบลงมากเท่าใดก็บ่งบอกถึงการสึกหรอของข้อเข่ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
- การเจาะเลือดเพื่อหาระดับกรดยูริค
- การตรวจความหนาแน่นของกระดูกเพื่อตรวจสอบภาวะกระดูกพรุน
- การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่ากรณีข้อเข่าบวม
การรักษา
- รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ และยากลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก
- ฉีดสารน้ำเลี้ยงไขข้อ
- ทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก และบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อปวดมากและรักษาด้วยยาหรือทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น หรือข้อเข่าผิดรูปจนใช้งานไม่ได้
ปัจจุบัน มีวิทยาการใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยให้การผ่าตัด สะดวกและรวดเร็วขึ้น นั่นคือ เทคโนโลยีการส่องกล้องผ่าตัดข้อเข่า ซึ่งจะทำให้แผลมีขนาดเล็ก ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้ป่วยจึงไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน เพียง 2-3 วัน แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านและเริ่มทำกิจวัตรได้ตามปกติ หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)