มาทำความรู้จัก “หัวใจล้มเหลว” กันเถอะ…

10 ก.ค. 2563 | เขียนโดย นายแพทย์เอกลักษณ์ อาจนาฝาย ศูนย์หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของหัวใจ จะทำให้เราเข้าใจอาการ สาเหตุของโรค และ เหตุผลในการส่งตรวจต่างๆ รวมถึง แนวทางการรักษา



การเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของหัวใจ จะทำให้เราเข้าใจอาการ สาเหตุของโรค และ เหตุผลในการส่งตรวจต่างๆ รวมถึง แนวทางการรักษา

 

หน้าที่ของหัวใจ

 

หัวใจอยู่ตรงกลางระหว่างปอด 2 ข้าง ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเสมือนปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

 

หัวใจฝั่งขวา :

ร่างกายส่วนบน ศรีษะ คอ แขน  ร่างกายส่วนล่าง ลำตัว ท้อง ขา ผ่านหลอดเลือดดำ SVC

หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) : รับเลือดดำกลับจากร่างกาย ผ่านหลอดเลือดดำใหญ่ ชื่อ SVC และ IVC

ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) : กั้น “ห้องบนขวา” กับ “ห้องล่างขวา”

หัวใจห้องล่างขวา (Right Ventricle) :  รับเลือดดำต่อจากหัวใจบนขวา จากนั้นสูบฉีดเลือดส่งไปปอด

ลิ้นพัลโมนิก (Pulmonic Valve) : กั้นทางออกของ “ห้องล่างขวา” ส่งต่อไปหลอดเลือดพัลโมนารี่อาเทอรี่ (Pulmonary Artery) เลือดเดินทางไปฟอกที่ปอด

 

หัวใจฝั่งซ้าย :

ปอด รับเลือดดำต่อจากหัวใจห้องล่างขวา ฟอกเพิ่มออกซิเจนเป็นเลือดแดง แล้วส่งต่อไปยังหัวใจห้องบนซ้าย

หัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium) : รับเลือดแดงกลับจากปอด

ลิ้นไมตรัล (Mitral Valve) : กั้น “ห้องบนซ้าย” กับ “ห้องล่างซ้าย”

หัวใจห้องล่างซ้าย (Left Ventricle) :  รับเลือดแดงต่อจากหัวใจห้องบนซ้าย จากนั้นสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย

ลิ้นเอออติก (Aoric Valve) : กั้นทางออกของ “ห้องล่างซ้าย” ส่งต่อไปหลอดเลือดแดงใหญ่เอออต้า (Aorta) เลือดเดินทางไปเลี้ยงร่างกาย

 

เกิดอะไรเมื่อ หัวใจล้มเหลว

 

หัวใจล้มเหลว / หัวใจวาย = Heart Failure (เมื่อปั๊มน้ำเสีย)

 

อาการฝั่งขวา :

ร่างกายส่วนบน : 

  • หลอดเลือดดำที่คอโป่ง (Jugular Venous Distention)
  • ตรวจกดบริเวณตับแล้วหลอดเลือดคอโป่ง (Hepatojugular reflux)

 

ร่างกายส่วนล่าง : 

  • คลำตับได้โตขึ้น (Hepatomegaly) จุกแน่นบริเวณท้องขวาบน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
  • ขา ข้อเท้าบวม กดบุ๋ม (Pitting Edema)
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (Weight gain) > 2 กิโลกรม ใน 2-3 วัน

 

น้ำท้นขึ้นสู่ด้านบน เมื่อปั๊ม ฝั่งขวาเสีย เลือดไปปอดลดลง เลือดไปฝั่งซ้ายลดลงเช่นกัน จึงไปเลี้ยงร่างกายลดลงทำให้เหนื่อยหอบ เพลียทำกิจกรรมได้ลดลง

 

อาการฝั่งซ้าย :

ปอด : 

  • กลางคืน หลังหลับรู้สึกเหนื่อย ต้องนั่งหรือลุกเดินถึงหายเหนื่อย (Paroxysmal Nocturnal Dyspnea, PND)
  • นอนราบไม่ได้ หนุนหมอนสูง หายใจลำบาก นั่งหลับ (Orthopnea)

 

น้ำท้นกลับไปที่ปอด เมื่อหัวใจ (ปั๊ม) ฝั่งซ้ายเสีย

อาการจากเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ (Inadequate tissue perfusion) : 

  • งง สับสน
  • ซึมลง
  • ปัสสาวะออกลดลง
  • ไตวาย
  • เหนื่อย เพลีย
  • ทำกิจกรรมได้ลดลง

 

ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

SHARE