มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ เป็นก้อนเนื้อที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือ กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทางเดินน้ำเหลือง ทางระบบเลือด โรคมะเร็งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ เป็นก้อนเนื้อที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือ กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทางเดินน้ำเหลือง ทางระบบเลือด โรคมะเร็งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง
กลุ่มของมะเร็ง
- มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากผิวหนัง หรือ เยื่อบุอวัยวะต่างๆ (Carcinoma)
- มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมากจากกระดูก (Sarcoma) กระดูกอ่อน ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเลือด
- มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก (Leukemia) ทำให้มีความผิดปกติของเม็ดเลือด
- มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (Lymphoma and Myeloma)
- สมองและไขสันหลัง (Central Nervous System Cancer)
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง
- อายุ : อายุที่มากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น
- บุหรี่ : ทำให้เกิดความเสี่ยงจากมะเร็งมากขึ้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งปากมดลูก
- แสงแดด (UV) : ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
- รังสีต่างๆ : เช่น รังสีในธรรมชาติ รังสีเอ็กซเรย์ นิวเคลียร์ แก๊ส ซึ่งหากได้รับปริมาณสูง เกินค่าที่กำหนดทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และ มะเร็งกระเพาะอาหาร
- สารเคมีต่างๆ
- เชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิด : เช่น HPV HIV ไวรัสตับอักเสบบี ซี เป็นต้น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน : การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้
- พันธุกรรม : มีประวัติครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
- แอลกอฮอล์ : อาจทำให้เกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทางเดินอาหาร กล่องเสียง ตับ และ มะเร็งเต้านม
- พฤติกรรมการดำเนินชีวิต : เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาจทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก และ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงความอ้วน หรือ การที่ไม่ออกกำลังกายน้อย
อาการสงสัยมะเร็ง
- ตรวจพบก้อนผิดปกติต่างๆ ตามร่างกาย เช่น ก้อนที่เต้านม ก้อนที่คอ ก้อนในช่องท้อง ก้อนที่ข้อพับต่างๆ
- ไฝเกิดใหม่ หรือ ไฝที่มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ขยายใหญ่ขึ้น โตขึ้น เลือดออกผิดปกติ คัน
- เจ็บปวดเรื้อรังตามร่างกายผิดปกติ มีจุดที่ปวดเรื้อรังไม่หายสักทีเป็นเวลานาน
- ขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปนเลือด มีสีดำ มีสีผิดปกติ ลำถ่ายอุจจาระเล็กลง ขับถ่ายลำบาก
- ความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร เช่น กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็วผิดปกติ เบื่ออาหาร
- ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก เช่น น้ำหนักลดลงมาก ไม่ทราบสาเหตุ
- มีสารคัดหลั่ง หรือ เลือดออกผิดปกติ เช่น ตกขาวผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือ มีเลือดหรือน้ำออกหัวนม มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
หากมีอาการดังกล่าว ไม่ควรนิ่งนอนใจควรพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ได้ที่ สาขาใกล้บ้านคุณ แผนกอายุรกรรม