ในปัจจุบัน การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และสมองนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ และมีอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิติหรือพิการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
ในปัจจุบัน การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตาย และความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกๆ ประเภท นอกจากนี้ยังพบว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ และสมองนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ และมีอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิติหรือพิการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะด้วยความรวดเร็ว เร่งด่วน และมาตรฐานทางการแพทย์ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
บาดเจ็บที่ศีรษะ หมายถึงอะไร
บาดเจ็บที่ศีรษะ หมายถึง การบาดเจ็บที่ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช่น
- มีประวัติศีรษะถูกกระทบกระแทก
- หลังได้รับบาดเจ็บมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัวแม้เพียงชั่วขณะ เช่น วูบ หมดสติชั่วคราว หรือ จำเหตุการณ์ขณะเกิดอุบัติเหตุไม่ได้
- ตรวจพบบาดแผลฉีกขาดที่หนังศีรษะ หรือหน้าผาก ทั้งนี้ไม่รวมถึงบาดเจ็บที่ใบหน้า มีสิ่งแปลกปลอมในตา หู หรือ จมูก และเลือดกำเดาไหล ซึ่งการบาดเจ็บเหล่านี้อาจพบร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะได้
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจำเป็นต้องตรวจร่างกายอะไรบ้าง ประกอบด้วย
- การตรวจทางรังสีวิทยา ประกอบ
-
- เอกซเรย์ดูกะโหลกศีรษะ
- เอกซเรย์ดูกระดูกสันหลังส่วนคอ (กรณีที่ได้รับบาดเจ็บที่คอร่วมด้วย)
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) โดยจะพิจารณา โดยดูจากความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น มีอาการหมดสติหลังได้รับบาดเจ็บ เบลอ ซึม มีอาการรุนแรง
- การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถบ่งบอกความผิดปกติได้
- เครื่องติดตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันสมอง (ICP Monitoring)
คำแนะนำสำหรับผู้ ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
ในกรณี ที่แพทย์ทำการตรวจผู้ป่วยแล้วมีความเห็นว่า การบาดเจ็บที่ศีรษะที่ผู้ป่วยได้รับในขณะนี้ยังไม่มีอาการที่รุนแรงถึงขนาดจะต้องนอนในโรงพยาบาล และให้กลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้ ผู้ป่วยหรือญาติต้องสังเกตอาการทางสมองซึ่งถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบกลับมาพบแพทย์
- ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือ ไม่รู้สึกตัว หมดสติ ปลุกตื่นยาก
- กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
- แขน ขา อ่อนแรงลง หรือมีกำลังน้อยลงกว่าเดิม
- ชีพจรเต้นช้า มีอาการไข้สูง
- คลื่นไส้ / อาเจียน มาก ติดต่อกันหลายครั้ง
- ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลาลง
- มีเลือด หรือน้ำใสๆ ไหลออกจากหู หรือจมูก ไม่ควรพยายามสั่งออก หรือเช็ดเข้าไปในช่องหูและจมูก
- ตาพร่ามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน
- มีอาการ หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ผิดปกติ เช่น เอะอะโวยวายเดินพล่านเป็นต้น
ทุกวินาทีมีค่า บาดเจ็บที่สมองต้องรีบรักษา อย่าเสียเวลากับการเดินทางที่คุณไม่อาจคาดเดาได้
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสินแพทย์
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)