ท้องเสีย ถ่ายมีเลือดปน…ระวังลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง !!!

7 ต.ค. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังคืออะไร ? โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) โดยพยาธิสภาพของโรคจะเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผิวลำไส้ในบริเวณชั้นตื้นของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การอักเสบจะค่อย ๆ ลุกลามจนเยื่อบุลำไส้ใหญ่เกิดความเสียหายมากขึ้น เกิดเป็นแผล อาจมีเลือดออกหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้



สาเหตุของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังเกิดจากอะไร ?

 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆรวมกัน ดังนี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • เชื้อชาติ พบในคนยุโรปมากกว่าคนเอเชีย
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผิดปกติ
  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในลำไส้
  • อาหาร เช่น อาหารที่มีไขมันสูง คาเฟอีน แอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • ความเครียด

 

อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังเป็นอย่างไร ?

  • ปวดท้อง
  • ปวดทวารหนัก กลั้นถ่ายลำบาก
  • ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเหลวรุนแรง
  • ถ่ายเป็นมูกหรือเลือดสด
  • มีไข้ อ่อนเพลีย
  • ปวดข้อ
  • น้ำหนักลด
  • โลหิตจาง
  • ตับอักเสบ

 

การวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังทำอย่างไร ?

 

แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากอาการ ประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อช่วยการวินิจฉัย ดังนี้

 

  1. การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาการติดเชื้อหรือการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย ตรวจหาภาวะโลหิตจาง และภาวะขาดสารอาหาร
  2. การตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจดูเซลล์เม็ดเลือดในอุจจาระ ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสหรือปรสิต
  3. การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและลำไส้ตรง (Flexible sigmoidoscopy) ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย
  4. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่องท้อง  หรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ช่องท้อง เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา

 

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังทำอย่างไร ?

 

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หายขาดได้ เป้าหมายในการรักษาคือการพยายามบรรเทาอาการของโรค ทำให้โรคอยู่ในระยะสงบ ไม่กลับมาเป็นซ้ำ และลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

 

  • การรักษาด้วยยา
  • ยาต้านการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ ซัลฟาซาลาซีน
  • ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อกดระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ให้สร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น อะซาไธโอพรีน เมโทรเทรกเสต กลุ่มยายับยั้งทีเอ็นเอฟ
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น เมโทรนิดาโซล ไซโปรฟลอกซาซิน
  • ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาบรรเทาอาการท้องเสีย
  • ธาตุเหล็กและวิตามินบี12 ในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางและขาดวิตามินบี 12
  • การใช้ยาต่างๆอาจมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยจึงต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ใช้ยารักษาแล้วยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

 

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอาจมีอาการกำเริบเป็น ๆ หาย ๆ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และผู้ป่วยมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยจึงควรติดตามการรักษาต่อเนื่องและรับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

#โรงพยาบาลสินแพทย์รามอินทรา
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ

แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
ราคา
15,900 ฿
แพ็กเกจผ่าตัด และส่องกล้อง
แพ็กเกจส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
ราคา
25,900 ฿
แพ็กเกจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
แพ็กเกจส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
ราคา
15,500 ฿