หลังจากตรวจหาสาเหตุแล้ว จะมีการรักษาอย่างไร ถ้าผลตรวจทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์จะแนะนำให้มีเพศสัมพันธุ์กันในช่วงที่มีไข่ตก หากพบมีความผิดปกติ ก็จะรักษาตามสาเหตุ เช่น ถ้าไม่มีการตกไข่ ก็จะหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ ก็จะแก้ไขเรื่องภาวะฮอร์ดมน หรือ ให้ยากระตุ้นการตกไข่ ถ้าพบมีการติดเชื้อ ก็ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ถ้าพบว่ามีพังผืดที่มดลูก ท่อนำไข่ หรือ รังไข่ ก็จะผ่าตัดเลาะพังผืดออก และเนื่องจากท่อนำไข่เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กมาก จำเป็นต้องผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องจุลทรรศน์ และ เครื่องมือขนาดเล็ก เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด หากรักษาภาวะผิดปกติแล้ว ยังไม่มีบุตรได้ตามกลไลธรรมชาติ อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่อไป
เมื่อไปพบแพทย์ต้องผ่านขั้นตอนตรวจอะไรบ้าง
ฝ่ายหญิง
จะได้รับการซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย การมีประจำเดือน การมีเพศสัมพันธุ์ พร้อมทั้งตรวจร่างกายและตรวจเลือดอย่างละเอียด ดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง บางรายอาจจำเป็นต้องฉีดสารทึบแสงเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูโพรงมดลูก และท่อนำไข่ว่าปกติ หรือไม่ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน การพิจารณาตรวจนั้นแพทย์จะค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน
ฝ่ายชาย
ทำได้ง่ายเพียงตรวจน้ำเชื้อดูปริมาณ และคุณภาพของตัวอสุจิก็สามารถ บอกได้ว่ามีสาเหตุของภาวะมีบุตรยากหรือไม่
หลังจากตรวจหาสาเหตุแล้ว จะมีการรักษาอย่างไร
- ถ้าผลตรวจทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์จะแนะนำให้มีเพศสัมพันธุ์กันในช่วงที่มีไข่ตก
- หากพบมีความผิดปกติ ก็จะรักษาตามสาเหตุ เช่น
- ถ้าไม่มีการตกไข่ ก็จะหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ ก็จะแก้ไขเรื่องภาวะฮอร์ดมน หรือ ให้ยากระตุ้นการตกไข่
- ถ้าพบมีการติดเชื้อ ก็ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ถ้าพบว่ามีพังผืดที่มดลูก ท่อนำไข่ หรือ รังไข่ ก็จะผ่าตัดเลาะพังผืดออก และเนื่องจากท่อนำไข่เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กมาก จำเป็นต้องผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องจุลทรรศน์ และ เครื่องมือขนาดเล็ก เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด
- หากรักษาภาวะผิดปกติแล้ว ยังไม่มีบุตรได้ตามกลไลธรรมชาติ อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่อไป