ทำอย่างไรเมื่อเป็นแผลร้อนใน ?!??

4 พ.ย. 2567 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

แผลร้อนใน (Aphthous ulcers) คือ แผลในช่องปาก มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี สีขาวหรือเหลืองซีด มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรถึงใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร อาจมีหนึ่งแผลหรือหลายแผล ทำให้เกิดอาการเจ็บและระคายเคืองเวลารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ



ปัจจัยเสี่ยงของแผลร้อนในมีอะไรบ้าง ?

 

พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลร้อนใน มีดังนี้

 

  • ความเครียด
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • พันธุกรรม
  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี 12 กรดโฟลิก
  • การแพ้อาหารบางชนิด
  • การรับประทานอาหารที่เป็นกรดสูง เช่น มะนาว
  • การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิงช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน
  • โรคของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอชไอวี โรคเบเช็ท โรคโครห์น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  • การใส่เหล็กจัดฟันหรือฟันปลอมที่ไม่พอดีช่องปากทำให้เกิดการระคายเคือง

 

 

การรักษาแผลร้อนในทำอย่างไร ?

 

  • รับประทานอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารรสจัด อาหารเย็นจัดหรือร้อนจัด
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ดูแลสุขภาพช่องปาก ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหลังอาหารทุกมื้อ
  • การใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาชาเฉพาะที่
  • การใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อ
  • การรับประทานวิตามินและธาตุเหล็กเสริม ในผู้ป่วยที่ขาดสารอาหาร
  • การรักษาโรคระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นสาเหตุ
  • หากแผลร้อนในเป็นรุนแรง รักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาทำการจี้แผลด้วยไฟฟ้า

 

แผลร้อนในส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ แผลลุกลามใหญ่ขึ้น หรือแผลร้อนในเป็นซ้ำ ๆ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจมีสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อ มะเร็งช่องปาก โรคของระบบภูมิคุ้มกัน

 

ด้วยความห่วงใย จาก…#โรงพยาบาลสินแพทย์รามอินทรา

SHARE