กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ หัวใจวาย เกิดจากภาวะ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดนี้เกิดจาก การที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนทำให้เกิดเป็น ตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก จนเกิดเป็นลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด หากอุดตันหลอดเลือดแขนงเล็กๆ อาจมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่หากอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจาก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด หรือหัวใจวายได้
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ หัวใจวาย เกิดจากภาวะ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดนี้เกิดจาก การที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนทำให้เกิดเป็น ตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก จนเกิดเป็นลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด หากอุดตันหลอดเลือดแขนงเล็กๆ อาจมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่หากอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจาก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด หรือหัวใจวายได้
ปัจจัยเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจวาย เฉียบพลัน
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- เป็นเบาหวาน
- สูบบุหรี่
- มีประวัติ คนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- มีภาวะโรคอ้วน
อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- เจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก นานกว่า 1 นาที
- เจ็บหน้าอกรามไปบริเวณ คอ กราม ไหล่ และ แขนทั้ง 2 ข้าง
- เหงื่อออกตามร่างกาย
- เหนื่อยง่ายหัวใจติดขัด
- วิงเวียง หน้ามืด ตาลาย
- ชีพจรเต้นเร็ว
หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ทันที
การตรวจวินิจฉัย
- ซักประวิติอาการเจ็บป่วยโดยแพทย์ผู้ชำนานการ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- เอ็กซ์เรย์ปลอด
- การสวนหัวใจ การฉีคสีดู หลอดเลือดหัวใจ Cardiac catheterization or coronary angiogram
แนวทางการรักษา กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
หลังจากแมทช์ วินิจฉัย ว่าผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แพทย์จะทำการ ฉีคสีเพื่อให้ทราบตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันแล้วทำการเปิดหลอดเลือด โดย การขยายหลอดเลือดหัวใจ ด้วย บอลลูน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจให้สะดวกมากขึ้น ในปัจจุบันมักดูดลิ่มเลือดออกและใช้ขดเลือดค่ำยัน เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันซ้ำอีก
ในกรณีที่มีอาการอุดตันหลอดเลือดหลายเส้น แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส
การป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ในการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมัน แคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงการรับประทาน อาหารเค็มจัด อาหารจานด่วน หรืออาหารสำเร็จรูป
- ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- งดการสูบบุหรี่
- ไม่เครียด
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ หรือ ศูนย์หัวใจล้มเหลว
ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ
(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)
(คลิก link เพื่อดูแพคเกจ ตรวจหัวใจ หรือ จองแพคเกจ)